ข้อดี และ ข้อเสียของการจดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดา และ หลักการยื่นภาษี

เราได้พูดถึงการจดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดาสำหรับคนทำร้านอาหารกันไปแล้ว บทความนี้จะมาว่ากันถึงข้อดีและข้อเสียของการจดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคลธรรมดา

มาเริ่มกันที่ข้อดีก่อน (เพราะไม่มีอะไรให้กล่าวถึงมากนัก)

– เราทำถูกต้องตามกฎหมายไทย

– ร้านมีความน่าเชื่อถือ

เอาแค่ 2 ข้อนี้ก็พอ คราวนี้มีดูข้อเสียของการจดทะเบียนพาณิชย์แบบบุคคลธรรมดากันบ้าง

– ยุ่งยากจัดทำเอกสาร

– เสียภาษี (ตามหลักก็ต้องเสียนะคะ)

เอาแค่ 2 ข้อเช่นกัน แต่จากข้อเสียที่ว่า มีเรื่องต่อเนื่องให้ได้พูดถึงกันอีกนั่นคือ เรื่องของการเสียภาษี มาดูกันว่า หลักการยื่นภาษี สำหรับกิจการที่จดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดาต้องทำอะไรบ้าง

ตามกฎหมายแล้วใน 1 ปี เราจะต้องยื่นเงินได้ให้กับกรมสรรพากร ปีละ 2 ครั้ง คือกลางปี และ ปลายปี หากท่านใดเคยทำงานประจำมาก่อน คงจะคุ้นกับการยื่นภาษีมาบ้างแล้ว จะมาทบทวนอีกครั้งนึง นะคะ สิ่งที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ

  1. เงินได้ประเภท การประกอบกิจการร้านอาหาร อยู่ในหมวด 40 (8) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้คือ หักเหมา 70% ของเงินได้ ตามประกาศของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/0.html

  2. ค่าลดหย่อน มีดังนี้
  • สำหรับคนมีเงินได้ทุกคนที่ยื่นแบบแสดงรายการ สามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนได้ 30,000 บาท

 

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน30,000 บาท คือ ค่าลดหย่อนของคู่สมรส กรณีที่คู่สมรส (สามี-ภรรยา) ของเราที่ไม่มีเงินได้ หรือเลือกยื่นแบบแสดงรายการรวมกัน เราจะได้สิทธิค่าลดหย่อนส่วนเพิ่มอีกจำนวน 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้คู่สมรสที่ว่า…ต้องมีการจดทะเบียนสมรส คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้ในระหว่างปี หรือมีแต่เลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีกับเรา

 

  • ค่าลดหย่อนบุตร 15,000 บาทและ ค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร 2,000 บาท หักบุตรตามอายุได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน และมีอายุไม่เกิน 20 ปี แต่ถ้าอายุอยู่ในระหว่าง 21-25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้น และบุตรต้องไม่มีเงินได้ในปีภาษีตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป

 

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จำนวน 100,000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เราจ่ายไปเพื่อซื้อบ้านหรือคอนโดเพื่ออยู่อาศัย โดยสามารถหักได้ตามที่จ่ายไปจริง ในจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท และในกรณีที่เป็นการกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

 

  • ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา คนละ 30,000 บาท สูงสุด 120,000 บาทถ้า หากเราหรือคู่สมรสมีคุณพ่อคุณแม่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท เราก็จะมีสิทธิหักลดหย่อนค่าเลี้ยงดูได้คนละ 30,000 บาท ซึ่งส่วนนี้จะหมายความรวมถึงพ่อแม่ของคู่สมรส (ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้) แต่มีเงื่อนไขว่า พ่อแม่ที่นำไปลดหย่อนนั้น จะต้องออกหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนเป็นคนเลี้ยงดู และลูกจะสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียวเท่านั้น

 

  • เบี้ยประกันชีวิต มี 2 ประเภท คือ
    • ประกันชีวิต (แบบทั่วไป) ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
    • ประกันชีวิต (แบบบำนาญ) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000

 

  • ค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 60,000 บาท ถ้าเราเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคน พิการ เราสามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นคนพิการซึ่งมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นคนทุพพลภาพที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีค่ะ

 

  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาใน กรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี หากเรามีการซื้อประกันสุขภาพให้ท่าน สามารถนำค่าเบี้ยประกันสุขภาพมาลดหย่อนได้สูงสุดถึง 15,000 บาท และค่าเบี้ยประกันนี้สามารถหารกันสำหรับลูกหลายๆคนค่ะ

 

  • เงินสมทบ กบข. และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 500,000 บาทเงิน สมทบกบข. (สำหรับข้าราชการ) และเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับเอกชน) สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

 

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมนิดนึงสำหรับค่าลดหย่อนกลุ่มนี้ คือ ผลรวมของ RMF + กบข./กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + ประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน  500,000 บาท นะคะ

 

  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุด 500,000 บาท

 

  • ประกันสังคม ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

 

  • ค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดย ต้องเป็นค่าโรงแรมและค่าที่พักสำหรับการท่องเที่ยวภายในประเทศตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม – 31 ธันวาคม 2557 คร้าบบบ (สำหรับการยื่นแบบปี 2558)

 

  • เงินบริจาค แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สามารถหักลดหย่อนได้เป็น 2 เท่าของเงินที่ได้จ่ายไป แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น
    • เงินบริจาคทั่วไป สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือหลังหักลดหย่อนและยกเว้นกรณีอื่นๆทั้งหมดแล้ว

  1. ตารางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2558
เงินได้สุทธิ  อัตราภาษี
0.00 150,000.00  ยกเว้น
150,001.00 300,000.00 5%
300,001.00 500,000.00 10%
500,001.00 750,000.00 15%
750,001.00 1,000,000.00 20%
1,000,001.00 2,000,000.00 25%
2,000,001.00 4,000,000.00 30%
4,000,001 ขึ้นไป 35%

 


 

เป็นอย่างไรบ้างค่ะข้อมูลเบื้องต้นด้านบน แค่นี้ก็อ่านกันจนตาลายแล้ว ในส่วนของการคำนวณ ปอยอยากให้เพื่อนๆ ยกตัวอย่างตัวเลขมา ว่ามีรายได้เท่าไหร่ หักลดหย่อนอะไรได้บ้าง แล้วปอยจะคำนวณให้ดูกันค่ะ

สัปดาห์หน้า จะเป็นเรื่องของอะไร โปรดติดตามกันค่ะ


 

10885232_925459420811206_521604253673756711_n

BY…‪‎แอดมินปอย


ติดตามเกร็ดสาระเพื่อคนทำร้านอาหารได้อีกช่องทางที่ แฟนเพจเพื่อนแท้ร้านอาหาร

 

บทความบัญชีชี้ช่องรวย

สูตรง่ายๆ หาจุดคุ้มทุนร้านอาหาร

 

9eak
9eak
ทดสอบครับ

Related Articles

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Stay Connected

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -spot_img

Latest Articles