หลังจากอ่านแต่ละข้อ ๆ ของ “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒” ซึ่งเจตนาของพรบ.ฉบับนี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมี 3 ประเด็นสำคัญที่ขอนำมาขยายประเด็นให้เพื่อน ๆ ทราบ ดังนี้
1 มาตรา ๖
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓๔ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่าสามวันทำงาน”
อธิบาย :
(เดิม) การลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น (ขอเรียกสั้นๆ ว่า ลากิจ) นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า เจ้าของกิจการต้องจ่ายเงินให้พนักงานเมื่อใช้การลากิจ และไม่ได้มีข้อกำหนดไว้อีกว่า 1 ปีลากิจได้กี่ครั้ง ซึ่งจุดนี้เองบางบริษัทอาจจะกำหนดไว้ว่าลากิจได้ 1 วันต่อปี ดูแล้วอาจไม่เพียงพอกับการลากิจ กฎหมายใหม่เลยกำหนดให้ลาขั้นต่ำ 3 วันต่อปี และเจ้าของกิจการจะต้องจ่ายเงินด้วย
แต่หากลากิจมากกว่า 3 วันอันนี้เจ้าของกิจการพิจารณาเองได้ว่าจะจ่ายค่าจ้างหรือไม่!!!
2 มาตรา๙
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑“มาตรา ๕๗/๑ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง
ในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นตามมาตรา ๓๔ เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามวันทำงาน”
อธิบาย :
คำว่า “ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น” กฎหมายไม่ได้กำหนดความหมายของคำนี้ไว้ ดังนั้น ควรป้องกันปัญหากรณีตีความว่าอะไรจำเป็นหรือไม่จำเป็นโดยนายจ้างควรกำหนดไปเลยว่านิยามของเหตุจำเป็นคืออะไร
ตัวอย่างเช่น “ลากิจได้ในกรณีดังต่อไปนี้
1. คนในครอบครัวเสียชีวิตและต้องลาไปเพื่อดำเนินกิจต่าง ๆ
2. ราชการเรียกเข้ารายงานตัวฉุกเฉิน
3. เพื่องานแต่งของพนักงานเอง..เป็นต้น
3 มาตรา ๗
ให้ยกเลิกความในมาตรา๔๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๔๑ ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกินเก้าสิบแปดวันวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรานี้ให้หมายความรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย วันลาตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลาด้วย”
มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๕๙ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา ๔๑ เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน”
อธิบาย :
(เดิม) ลาคลอดได้ 90 วัน โดยพนักงานจะได้รับเงินเดือนตามปกติที่ 45 วัน ในส่วนอีก 45 วันที่เหลือ พนักงานจะต้องดำเนินเรื่องเองกับประกันสังคมแต่กฎหมายใหม่เพิ่มวันลาคลอดให้อีก 8 วันรวมเป็น 98 วัน โดยในส่วนนี้เองแอดมินเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับพนักงานที่ตั้งครรภ์ เพราะในระหว่าง 9 เดือนที่ตั้งครรภ์ จำเป็นต้องมีการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ ซึ่งหากเป็นกฎหมายเดิมพนักงานที่ตั้งครรภ์จะต้องใช้วันลาอื่น ๆ เพื่อไปตรวจครรภ์แทน
หมายเหตุ : ถึงแม้วันลาคลอดจะเพิ่มจาก 90 เป็น 98 วัน แต่ผู้ประกอบการก็ยังคงจ่ายเงินเดือนตามปกติที่ 45 วันเช่นเดิมแต่อีก 53 วันที่เหลือประกันสังคมจะจ่ายให้ 45 วันเหมือนกฎหมายเดิมหรือจะมีเปลี่ยนแปลงเป็นจ่ายให้ 53 วัน ประเด็นนี้ แอดมินไม่แน่ใจเหมือนกันครับ
4 มาตรา ๑๑
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๗๐ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
(๒) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้าง นอกจาก (๑) ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน
(๓) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง
ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง”
อธิบาย :
ประเด็นนี้ของเดิมมีอยู่แล้ว แต่อยากย้ำให้ผู้ประกอบการรับทราบว่า เลิกจ้างพนักงานต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง
5 มาตรา ๑๕
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) ของมาตรา ๑๑๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
“(๖) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบยี่สิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสี่ร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสี่ร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย”
อธิบาย :
เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้างงานใหม่
อัตราที่ 1 : อายุงาน 120 วัน – 1 ปี : ชดเชย 30 วัน
อัตราที่ 2 : อายุงาน 1 ปี – 3 ปี : ชดเชย 90 วัน
อัตราที่ 3 : อายุงาน 3 ปี – 6 ปี : ชดเชย 180 วัน
อัตราที่ 4 : อายุงาน 6 ปี – 10 ปี : ชดเชย 240 วัน
อัตราที่ 5 : อายุงาน 10 ปี – 20 ปี : ชดเชย 300 วัน
อัตราที่ 6 (ใหม่) : อายุงาน 20 ปีขึ้นไป : ชดเชย 400 วัน
ย้ำ เจตนาของพรบ.ฉบับนี้เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และจะเป็นประโยชน์แก่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของ