ลงทุน MBA | กลยุทธ์วางแผนก้าวแรกก่อนลงทุนลุยธุรกิจร้านอาหาร

โดย : อ๊อด น้ำดี ที่ปรึกษาธุรกิจแฟรนไชส์

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ คอลัมน์เงินล้าน กับ ลงทุน MBA ก่อนอื่นต้องขอขอบเพื่อนแท้ร้านอาหาร  ที่เปิดคอลัมน์ลงทุน MBA นี้ให้ผมได้มีโอกาสมาเขียนคอลัมน์นี้ เพื่องแบ่งปันประสบการณ์ให้กับเพื่อน ๆ ผมชื่อบรรเจิด  ยอดศิริ ค้นหาข้อมูลได้จาก Google ได้ครับ หรือ จะเรียกว่า พี่อ๊อด น้ำดี ปัจจุบันทำอาชีพที่ปรึกษา รับงานอิสระ เขียนหนังสือบ้าง สอนหนังสือบ้าง เป็นอาจารย์พิเศษบ้าง ปัจจุบันเขียนบทความให้กับ Thaifranchise  ทำงานที่ปรึกษาด้าน Digital Marketing ให้กับ FM 104.5 Travel Radio และเป็นผู้ดำเนินรายการ เป็นเจ้าของรายการ E- Business , Franchise I Love You. และเจ้าของหนังสือธุรกิจเงินล้าน , Water Branding การศึกษาจบวิศวกร ระดับ ป.ตรี  แต่วิธีการคิดดังเดิม ก็ไม่เคยเชื่อ หลักการตลาด เอาเสียเลย จนมีโอกาสได้สร้างทีมที่ปรึกษาไปทำงานที่ปรึกษาด้านแฟรนไชส์ให้กับกระทรวงพาณิชย์ด้านแฟรนไชส์ ผมเป็นหัวหน้าทีมเครือข่ายแฟรนไชส์ SMEs ตำแหน่งเลขานำที่ปรึกษาของเครือข่ายไปช่วยงานศาสตราจาร์วิทวัส รุ่งเรืองผล แต่ตัวเองกลับไม่ได้ลงสนามเพราะติดที่เรียน ป.โท ยังไม่จบนั้นเอง

จึงเป็นที่มาของชื่อคอลัมน์  “ลงทุน MBA“   ที่จะมาคุยกันในบทแรกนี้กันครับ อยากให้เข้าใจ คำว่า MBA ชื่อเต็มๆ ว่า Master of Business Administration ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในสายงานด้านธุรกิจ และ การบริหาร ไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องเรียนนะครับ แต่มีโอกาสเรียนได้ก็จะได้เปรียบ เสมือนได้ อีก 1 แนวคิด อีก 1 มุมมอง ที่จะช่วยลบความคิดแบบเดิม ๆ ที่ไม่เคยเชื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น การเรียนต่อ MBA ไม่เพียงแค่มีประโยชน์ทางด้านธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อผู้ที่ทำงานในสายงานด้านการบริการองค์กร ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าเราจะเป็นผู้ประกอบการ หรือเราจะทำงานกินเงินเดือน กินตำแหน่งเป็นพนักงานประจำ ก็จะช่วยในเราเห็นภาพเดียวกัน เวลาที่เราต้องไปติดต่อประสานงานไม่ว่ากับลูกค้า หรือผู้ร่วมงาน เพราะมันมีศัพท์เทคนิค หลาย ๆ คำ ทฤษฎีหลาย ๆ ทฤษฎี ที่จะช่วยให้เราทำงานได้งานขึ้น เรียกว่าคุยภาษาเดียวกันก็จะชัดเจน เวลาสื่อสารกัน

โดยในแต่ละบทความที่เขียนจะอ้างอิงจากหลักการที่มีก่อน แต่วิธีทำไม่จำเป็นต้องทำตามตำราทั้งหมดนะครับ จะได้ดูไม่เคร่งเครียดเกินไป วิชาแรกของบทเรียนแรกที่จะนำมาแบ่งปัน ถ่ายทอดให้กับแฟน ๆ เพื่อนแท้ร้านอาหาร ที่อยากจะลงทุนร้านอาหาร สิ่งที่สำคัญก็ คือ เรื่องการตลาด การจัดการ เรื่องการจัดการองค์กร การสรรหาคน วิธีดำเนินการ รวมถึง เรื่องการเงิน  ทั้งหมดนี้จะประกอบให้เราทำธุรกิจได้อย่างแม่นยำ ก่อนที่จะลงทุนทำอะไรก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนที่จะลงทุน ก็น่าจะต้องรู้ ถึง  “ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ  Key Success Factors of Business Owners “

architectureเข้าใจตลาด เข้าใจธุรกิจ การออกแบบโมเดลธุรกิจ ก่อนลงทุน บทแรกขอเกริ่นเรียกน้ำย่อยกันก่อน “ เริ่มต้นจาก Business Model  “ การหารายได้ มีอยู่  4 ส่วน ที่สำคัญและควรต้องเข้าใจกว่าแค่รู้   จากภาพด้านล่างเป็นภาพขยาย Business Model เรามักเรียกกันย่อ ๆ ว่า BMC ที่เกิดจากการวางภาพรวม

ทั้ง 4 ภาคของ Who / What  / How  / Money โดยทั้งหมดจะย่อยออกเป็น 9 ช่องเพื่อให้เราเข้าใจแบบจำลองธุรกิจของเราชัดเจนมากขึ้นจาก Out Side In ก่อนที่เราจะทำ In Side Out นั้นเอง ความหมายทั้ง 9 ช่อง คงไม่ต้องอธิบายนะครับ บนโลก On Line มีเยอะมาก เราควรเข้าใจโมดลของเราก่อนจาก 4 ภาคหลัก ๆ ก่อนดีที่สุด

1 Who คือ ใคร ใครกันแน่ที่จะเป็นลูกค้าเรา อย่าตอบนะทุกคน ลูกค้าเรามีกี่ประเภท หน้าตาอย่างไร อายุ อาชีพอความหนาหรือจำนวนกลุ่มที่เราสนใจ เราเลือกใช้ STP มาเป็นตัวช่วยกำหนดหน้าของลูกค้าเราจะง่ายขึ้น

2 What คือ เราขายอะไร สินค้าเรามี value อะไร ดีอย่างไร ตรงกลุ่มลูกค้าเราไหม พูดเหมือนง่ายทำจริง ๆ ยากนะ

3 How คือ ทำอย่างไร วิธีดำเนินการทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้าเราได้

4 Money ทำอย่างไรให้มีรายได้ ทำอย่างไรให้มีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ คือ สิ่งที่การทำธุรกิจต้องมี margin

ลงทุนMBA | เพื่อนแท้ร้านอาหาร

สิ่งที่นำเสนอคุณค่าต่อลูกค้า Identifying and Selecting Strategic  คือ สิ่งที่เราต้องวางจุดยืนของเรา

– แนวทางการเริ่มทำธุรกิจ

– แนวทางการทำการตลาด

– การวางแผนและกลยุทธ์ทางธุรกิจ

– การสร้างธุรกิจให้เป็นธุรกิจแฟรนไชส์

หลักการและแนวคิดที่สำคัญของธุรกิจ

– System ระบบที่ดี

– Technology เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการทำงาน

– Profitability พิสูจน์ผลกำไรได้จริง

– Training ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ได้จริง

 สร้างแบบจำลอง Model ด้าน Financial Plan

ก่อนอื่นเราต้องเริ่มต้นจากการจำลอง Model แบบง่าย ๆ กันก่อน หรือ อาจจะเรียกว่า การประเมินสถานการณ์จำลอง ตามตารางในรูป เมื่อเรารู้กลุ่มเป้าหมาย รู้รายได้หรือกำลังซื้อของลูกค้าเราได้ เราก็จะเดายอดซื้อต่อบิล ต่อจำนวนลูกค้าที่มาใช้บริการต่อวัย ในช่วงเวลาไหนที่

มักจะมีลูกค้า มากน้อยเท่าไร เราก็จะออกแบบขนาดร้าน จำนวนพนักงานที่จะบริการ ทุกอย่าง จะต้องออกมาอย่างเป็นสอดคล้องกัน เพื่อกำหนดรายรับและรายจ่ายได้เบื้องต้น โดยเราจะแบ่งออกเป็น 3 สถานการณ์จำลอง แบบดีสุด แบบปานกลางและแย่ที่สุด เรารับได้ไหม ถึงจะไปทำเรื่องอื่น ๆ ต่อไป  ตารางนี้ทำแบบคร่าว ๆ ก่อน ก่อนจะไปลงรายละเอียดเชิงลึกกัน

ลงทุนMBA | เพื่อนแท้ร้านอาหาร

หลังจากกรอกตัวเลขเรียบร้อยแล้ว เราจะมานั่งทำแผนการลงทุนจำลองกันต่อ โดยจะมีส่วนประกอบทั้งหมด 7 ข้อประกอบ ดังนี้

1.นโยบายและสัดส่วนการลงทุน

2.โครงสร้างต้นทุนการผลิต

3.จุดคุ้มทุน

4.วัตถุประสงค์การตั้งราคาขายและกลยุทธ์การตั้งราคา

5.งบประมาณการขาย 1 ปีแรก และภายในระยะเวลา 5 ปี

6.งบกำไรขาดทุน

7.ผลตอบแทนการลงทุน

เรื่องงบประมาณการลงทุน การหาแหล่งเงินทุน การคำนวณดอกเบี้ยที่แท้จริง และ อะไรอีกหลายเรื่องที่จะต้องมาเรียนรู้ ก่อนที่จะทำร้านอาหารสัก 1 ร้านจริงแล้วไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ยิ่งคิดมาก ทำมาก

ความแม่นยำของการตัดสินใจก็จะง่ายขึ้น การทำแบบจำลองธุรกิจ จึงเสมือนว่าเราได้ทำการบ้านก่อน ลงทุนจริง เราจะเห็นคำถามในใจก่อนและหาคำตอบ ดีกว่าคนที่ไม่ทำอะไรเลย หวังแค่มันจะสำเร็จจากการลงมือทำ เพื่อหาประสบการณ์และมักใช้คำแบบผิด ๆ ที่ว่าผิดเป็นครู วันนี้ใช้ได้แล้วนะครับ การเรียนระดับ MBA หลาย ๆ วิชาก็มักจะนำCase Study หรือ กรณีศึกษา มาอธิปาย Discussion มาถกเถียงกันในวิชากการตลาดไม่มีคำว่าถูกหรือผิดทั้งหมด อยู่ที่จังหวะและสถานะการณ์นั้น ๆ

แต่หลักการบริหารคน บริหารองค์กร ก็จะใช้อีกศาสตร์ที่แตกต่างกันไปในการดำเนินธุรกิจ การบริหารให้ร้านมีกำไร ก็ต้องรู้จัก การบริหารต้นทุน การบริหารทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด บางอย่างประหยัดได้ ก็ควรประหยัด บางอย่างจำเป็นต้องจ่ายก็ต้องจ่าย เพื่อให้เกิดความสมดุลกัน คือ หัวใจของการทำกำไรร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จนั้นเอง มาดูเคสตัวอย่างกันครับ

จากตารางด้านล่าง คือ สิ่งปลูกสร้าง หรือจะเช่า จะซื้อก็ลงในแบบจำลองกันเอาเองนะครับ สุดท้ายตัวเลขจะบอกเองว่า จะเลือกลงทุน หรือ ยกเลิกการลงทุนดีกว่ากัน

ตัวอย่างในการลงทุน  800,000 เหรียญ ( คิดที่ 30 บาทต่อเหรียญ จะตกลงเงินทุน 24 ล้านบาท )ให้มองเป็น 2 มุม ที่ 800,000 เหรียญ ร้านอาหารก็จะใหญ่หน่อย  แต่มองเอาใจ SME บ้านเรา 800,000 บาท ก็พอที่จะเป็นไปได้

 

ลงทุนMBA | เพื่อนแท้ร้านอาหาร

การคิดสัดส่วนการลงทุนจากตัวอย่าง คิดที่ตัวเลข 800,0000  ที่ 100 %

ลงทุนMBA | เพื่อนแท้ร้านอาหาร

 

หลังจากลงรายรายเอียดตัวเลข ภาพเราจะชัดขึ้นมาก สมมุติเราลงทุนทำร้านกาแฟ สักร้านวันนี้มีให้เลือก 2 โมเดล ร้านขนาดมาตรฐานที่ลงทุนระดับหลักล้านสำหรับร้านกาแฟ กับร้านกาแฟขนาดใหญ่เลยที่เป็น TOP BRAND คือ 30 ล้านบาท เราน่าจะเลือกได้ไม่ยากนะครับ

หรือเปลี่ยนจากร้านกาแฟ เป็นร้านอาหารหลักล้านบาท หน้าตาจะเป็นอย่างไร และ 30 ล้านบาทจะต้องใหญ่ขนาดไหน Location อยู่จุดไหน ตอนนี้เรามีตัวเลขสัดส่วนในตารางแล้วที่เป็นกรอบความคิด

จากประสบการณ์ของที่ปรึกษา ลูกค้ามักจะถามก่อนเสมอว่าลงทุนเท่าไรในธุรกิจนั้น เมื่อเรามีตัวเลขในใจ ไม่พอเราต้องมีสัดส่วนที่จะต้องคิดต่อด้วย ว่าจะหาแหล่งเงินทุนได้อย่างไร แหล่งเงินทุน มี 3 แบบ

1ลงทุนเอง 100 %

2หาผู้ร่วมหุ้นส่วน

3กู้มาลงทุน

จะใช้แบบที่ 1 อย่างเดียว หรือ แบบที่ 1 + แบบที่ 2 หรือ แบบที่ 1  + แบบที่ 3 หรือจะใช้ทั้ง 3 แบบเลยก็ได้ กรณีมีเงินทุนก็ง่ายหน่อย และจะกู้เงินจากระบบธนาคารด้วยก็ไม่ได้ผิด ทั้งนี้ก็ต้องนำดอกเบี้ยมาคิดด้วยในกรณีที่เรากู้ได้ การจะหาหุ้นส่วน ก็ทำได้ แต่ไม่ได้ง่าย ๆ อย่างที่คิด มันก็มีกรณีศึกษามากเช่นกันที่ทำระบบหุ้นส่วนแล้วไม่รอด หรือที่รอด รอดเพราะอะไร เพราะแนวคิดไม่ตรงกันบ้าง บางคนทำน้อยกว่า บางคนทำมากกว่าเป็นปัญหาที่ต้องคอยระวังกันอีก แต่สิ่งที่ควรทำก็ คือ  กำหนดก่อนว่าจะใช้แผนไหนลงทุนเท่าไรดี  ดูทำและคิดไปพร้อม ๆ กัน ทีละตัวอย่างกัน เริ่มต้นจากการลงทุนทำธุรกิจร้านกาแฟ ขนาดลงทุนไม่เกินล้านบาท กันเหนียวไว้ 200,000 บาท  20 % ของวงเงิน

ตัวอย่างแรก  ร้านกาแฟที่วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท เอา 80 % ใช้จริง 20 % กันไว้ก่อนก็ดีนะครับ

ขั้นตอนที่ 1. ตั้งแต่การเรียนรู้ ศึกษาหาข้อมูลก่อน เริ่มจาก SEO ง่ายที่สุดก็พึ่งใครไปไม่ได้ก็เริ่มจากพิมพ์ที่ Google ลงทุนร้านกาแฟ

ลงทุนMBA | เพื่อนแท้ร้านอาหาร

ก็จะขึ้นมาเยอะมาก About 8,070,000 results (0.38 seconds)  8 ล้านกว่าที่ระบบ SEO ค้นเจอ ด้วยเวลา ไม่ถึงวินาทีมีทั้งที่เป็น VDO และที่เป็น Website มากมาย เรียกว่า เลือกไม่ถูกแหละครับ อยากให้ลองสังเกตไปด้วยว่าทำไม VDO ถึงขึ้นลำดับต้น ๆ เพราะมาจาก Youtube ที่เป็นค่ายเดียวกันกับ Google เราลองคลิกไปที่ Images หรือ รูปภาพ ก็จะขึ้นมาตามภาพ เลือกที่เราชอบเลย อันไหนสวยเราก็อยากเลือกหาข้อมูล เราสามารถที่จะศึกษาเบื้องต้น แต่เลือกที่มีตัวตนและน่าสนใจ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงและใช้ในการตัดสินใจในขั้นตอนต่อไป ลองเข้าไปดูก่อนนะครับ

ลงทุนMBA | เพื่อนแท้ร้านอาหาร

หลังจากเราดูร้านกาแฟทั่วไปแล้วอยากให้ลองศึกษาจาก TOP BRAND ดูบ้าง เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างมี Brand กับ No Name เราจะตัดสินใจลงทุนแบบไหนกันดี เพื่อค้นหาไอเดียตัวเองก่อน ผู้เขียนแนะนำอ่านงานของร้านอาเมซอน เราก็ทำเหมือนเดิม เข้าไปพิมพ์ที่ google ว่าลงทุนร้านกาแฟอเมซอน

ลงทุนMBA | เพื่อนแท้ร้านอาหาร

จะขึ้นมาเยอะมาก About 115,000 results (0.45 seconds)  8 ล้านกว่าที่ระบบ SEO ค้นเจอ ด้วยเวลา ไม่ถึงวินาที  มีทั้งที่เป็น VDO และที่เป็น Website มากมายหรือจะเข้าที่นี่ก็ได้นะครับ

ลงทุนMBA | เพื่อนแท้ร้านอาหาร

การวิเคราะห์การลงทุนเปิดร้าน Café Amazon เขียนไว้ค่อนข้างละเอียด จริงแล้วบทความนี้นำมาจากวิชา Managing Corporate Finance ที่ตัวผู้เขียนสอบ Final นั้นเองตอนที่ ลงทุน MBA “  ตัวผู้เขียนเองจึงอยากให้น้อง ๆ ที่มีแต่ Passion อย่างเดียวมันอาจจะไม่พอ เราต้องมีความรู้ มีความเข้าใจอย่างดี ก่อนที่จะลงทุน สิ่งที่เราต้องรู้ มีอะไรบ้างในการตัดสินใจ ระยะเวลาคืนทุน ระยะเวลาที่ใช้ในการที่จะได้รับเงินทุนกลับคืน 1 ล้านบาท เราจะคืนทุนกี่ปี เพราะมันจะมีผลมากกับการลงทุน ยิ่งเราเช่าพื้นที่ สัญญาเช่าส่วนใหญ่จะให้ 3 ปี เราจะคืนทุนปีที่เท่าไร เราจะต้องออกแบบ วางแผนและเดินตามแผนได้อย่างไร

ขั้นตอนที่ นำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน เพื่อตัดสินใจว่าเราจะเลือกร้านกาแฟแบบไนดี จะเลือกทำเอง หรือจะเลือกซื้อแฟรนไชส์ ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเราแล้ว หรือจะลองไปหาที่เรียน ที่อบรมก็ดี เพื่อทำให้เรามีข้อมูล มีมุมมองที่กว้างขึ้น จะเลือกเรียนวิธีการทำร้านกาแฟก็มีคอร์สมากมายให้เลือกเรียน หรือจะเลือกเรียนหลักสูตร Mini MBA ก็มีที่น่าสนใจมากมาย อยู่ที่เราจะตัดสินใจเลือกที่จะเรียนรู้ อยู่ที่ความว่างของเรา มีทั้ง Off Line และ On Line  ให้เลือกเรียนได้มากมาย

ขั้นตอนที่ 3 อยากให้ศึกษาโครงสร้างของการบริหารธุรกิจเพื่อที่จะได้ทำแผนธุรกิจ เพื่อนำเสนอหาหุ้นส่วน หรือใช้ในกรณีที่จะต้องยื่นกู้แบงก์ มันจะมีประโยชน์มากในการวางแผน วางกรอบ เสมือนมี

GPS ทางธุรกิจไปถึงเป้าหมายที่เราวางไว้ มีทั้งหมด 10 บท ที่จะต้องเรียนรู้  ดังนี้
บทที่ 1 : Company Profile
บทที่ 2 : Business
บทที่ 3 : Industry / Market and Competitors Profile
บทที่ 4 : Analysis
บทที่ 5 : Market Entry Strategy
บทที่ 6 : Target market
บทที่ 7 : Products and service
บทที่ 8 : Marketing Mix Strategies Based on PLC
บทที่ 9 : Risk management plan
บทที่ 10 : Financial Plan

การเรียน MBA ใช้เวลาเรียน 2 ปี เรียนทั้งหมด 12 วิชาก็ต้องทำโครงสร้างธุรกิจเกือบทุก ๆ วิชา มีทั้งงานเดียวและงานกลุ่ม เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม เสมือนฝึกการบริหารและแบ่งหน้าที่กันทำ ใครทำมากก็จะได้มากและในแต่ละกลุ่มก็ต้องมา PRESENT ให้เพื่อน ๆ ร่วมคลาสเรียนฟังและมีอาจารย์คอยให้คำนำ เพื่อน ๆ คอยถาม ไม่ต่างกับที่เราต้องไปนำเสนอข้อสินเชื่อแบงก์หรือนำเสนอหุ้นส่วน เรามีความรู้จริงในสิ่งที่เราจะทำ ทางธนาคารฟังแล้วมีความเป็นไปได้ หุ้นส่วนฟังแล้วเรามีความรู้ ก็น่าที่จะร่วมลงทุน สิ่งหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการตัดสินใจลงทุนในการทำธุรกิจของเรา เพราะในบทสรุปสุดท้าย Financial Plan จะเป็นตัวบงชี้ว่าธุรกิจนี้สมควรจะลงทุนดีไหม ถ้าเราทำเองและเป็นข้อมูลจริงที่ไม่ได้เขียน เพื่อหลอกตัวเอง หลอกหุ้นส่วน แบบจำลองนี้จะมีประโยชน์มากในการทำธุรกิจ เพราะมันจะไม่ทำให้เราหลงทางไปกลับคำแนะนำต่าง ๆ นานา คนที่จะวิจารณ์ธุรกิจเราได้ ก็ควรได้อ่าน Business Plan เล่มนี้ของเราก่อน ถึงจะรู้แนวคิดของธุรกิจของเรา บทความแรกแค่เกริ่น ๆ การลงทุนเรียกน้ำย่อยกันก่อนครับ บทต่อไปจะมาคุยเรื่อง Concept และ Business Model ก่อนที่จะมาทำ Business Plan กันครับ


พี่อ๊อด น้ำดี ที่ปรึกษา​

Digital ​Marketing FM104.5​ TRAVEL​ RADIO​

เจ้าของรายการ E-BUSINESS ทาง คลื่น FM104.5​ TRAVEL​ RADIO และ On YouTube

www.e-businessthailand.com​

บทความแนะนำ

Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร

260,000แฟนคลับชอบ

บทความล่าสุด