4 รูรั่ว เสี่ยงทุจริตในร้านอาหาร

สำหรับบทความนี้จะเป็นการชี้ช่องให้ผู้ประกอบการร้านอาหารได้มองเห็นรูรั่วที่เอื้อต่อการทุจริตผลประโยชน์ในร้านได้ ซึ่งจากประสบการณ์และจากการวิเคราะห์พบว่า มีอยู่ 4 ช่องโหว่ที่พนักงานหรือหัวหน้างานจะทำการทุจริตผลประโยชน์ของร้านได้ จะมีอะไรบ้างติดตามกันเลย แต่ต้องบอกก่อนว่า อย่าจับจ้องแต่พนักงาน เพราะหลายๆ กรณี การทุจริจของพนักงานมีสาเหตุมาจากระบบภายในร้านไม่ดีทำให้เกิดช่องโหว่ขึ้นมา

Complain ร้องเรียน ร้านอาหาร

คำว่า “ทุจริตผลประโยชน์” หมายถึง การทุจริตและส่งผลให้ร้านสูญเสียผลประโยชน์โดยที่พนักงานจะได้ผลประโยชน์หรือไม่ก็ตามนะครับ

 

ผู้จัดการ ร้าน อาหารช่องโหว่ทั้ง 4 ได้แก่

– ช่องโหว่จาก Promotion

– ช่องโหว่จากการฮั้ว Supplier

– ช่องโหว่จากการไม่นับ Stock

– ช่องโหว่จาก Petty Cash

พนักงาน ร้าน อาหาร
พนักงาน ร้าน อาหาร

ช่องโหว่จาก Promotion :

ขอยกเป็นเหตุการณ์สมมติ ดังต่อไปนี้

เหตุการณ์ที่ 1.”ร้านอาหารทำโปรโมชั่นทานครบ 1,000 บาท รับส่วนลด 100 บาท เมื่อแสดงบัตรสมาชิก”

ปรากฎว่าลูกค้าทานไป 1,120 บาท แต่ไม่มีบัตรสมาชิก ทำให้ลูกค้าต้องจ่ายราคาปกติ แต่เมื่อมีการทอนเงินลูกค้าเสร็จแล้ว พนักงานกลับแอบใส่ส่วนลดไป 100 บาทพร้อมกับเซ็นกำกับส่วนลดเป็นชื่อมั่วๆ ของใครซักคน

เพียงเท่านี้พนักงานก็ได้เงินส่วนต่างแล้ว 100 บาท

 

เหตุการณ์ที่ 2.”ร้านกาแฟทำโปรโมชั่นสะสมแต้มครบ 10 ดวง ทานฟรี 1 แก้ว”

ลูกค้าสั่งกาแฟ 1 แก้ว โดยกาแฟที่ซื้อไปราคา 40 บาท ซึ่งพนักงานเก็บเงินมาตามปกติและได้รับคูปองสะสมพร้อมปั้มสะสมแต้มไป 1 ดวง แต่พนักงานไมได้เก็บเงินนั้นเข้าร้าน กลับกันคือหยิบคูปองสะสมแต้มมาแผ่นหนึ่ง และปั้มสะสมแต้มครบ 10 ดวงแทน

เท่านี้ก็ได้เงินจากการทุจริตไป 40 บาททันที

เหตุการณ์ที่ 3.”ร้านเค้กทำโปรโมชั่น ซื้อเค้ก 3 ชิ้นมีสิทธิ์แลกซื้อเครื่องดื่มในราคา 9 บาทจากปกติ 40 บาท”

ช่วงเที่ยงมีลูกค้ามาซื้อเค้กครบ 3 ชิ้นแต่ไม่ใช้สิทธิ์แลกซื้อเครื่องดื่ม ต่อมาช่วงบ่ายมีลูกค้าเข้ามาซื้อโกโก้เย็นพนักงานเก็บเงินลูกค้าในราคา 40 บาท เมื่อลูกค้าออกจากร้านไปก็ทำการป้อนเข้าระบบ POS ว่าลูกค้านำสิทธิ์แลกซื้อกลับมาใช้โดยซื้อโกโก้ในราคา 9 บาท

ทำให้พนักงานได้ส่วนต่างทันที 31 บาท

ยังมีโปรโมชั่นอื่นๆ อีกที่เพื่อนๆ ผู้ประกอบการต้องระวังให้ดี

ช่องโหว่จากการฮั้ว Supplier :

ช่องโหว่นี้ อาจจะพบในบางร้านอาหารที่ปล่อยให้พนักงานรับสินค้ากับคนส่งของอยู่บ่อยๆ โดยไม่มีคนคอยตรวจสอบ การทุจริตนี้สามารถทำได้โดยการลงของไม่ครบและนำไปขายต่ออีกที่อื่นในราคาถูก เช่น

ร้านสั่งสันคอหมูมา 10 กิโลกรัม ปรากฎลงของเพียง 8 กิโลกรัม และอีก 2 กิโลกรัมให้คนส่งของไปขายที่อื่น จากนั้นนำมาแบ่งกันระหว่างพนักงานที่ฮั้วกับคนส่งของนั้นเอง

ซึ่งบางครั้งการทุจริตอาจจะเกิดขึ้นเฉพาะฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งระหว่างพนักงานหรือคนส่งของก็เป็นได้ เช่น พนักงานส่งของนั้นลงของไม่ครบเอง เพราะสังเกตแล้วว่าพนักงานที่ร้านละเลยการตรวจสอบการรับวัตถุดิบ หรือ พนักงานร้านเองเมื่อรับวัตถุดิบจากคนส่งของเสร็จมีการแอบนำวัตถุดิบบางรายการออกไปขายต่อให้กับร้านอื่น เป็นต้น

ช่องโหว่จากการไม่นับ Stock :

ปัญหานี้ใหญ่มากนะครับ สำหรับผู้ประกอบการหลายๆ ท่านที่ไม่เคยทำการนับ Stock วัตถุดิบคงเหลือ เพราะพนักงานบางคนจะทราบว่าถ้าร้านไม่มีการนับ Stockแปลว่าสามารถทุจริตเรื่องวัตถุดิบได้ง่าย เช่น การขโมยวัตถุดิบ การกินของในร้าน ซึ่งหากมีการเริ่มนับและนำ Stockที่นับได้เทียบเคียงกับยอดการใช้วัตถุดิบจริง จะพบของหายจากยอดการใช้จริง ซึ่งคิดเป็นต้นทุนอาหารที่ผมเองเคยเจอมาประมาณ 3% เลยทีเดียว

โดยสาเหตุการหายนั้นมาได้หลายสาเหตุเช่น

  1. การสูญเสียจากการตัดแต่งวัตถุดิบ
  2. การสูญเสียจากระหว่างทำงาน แล้วไม่มีการจดบันทึก
  3. การหมดอายุของวัตถุดิบก่อนกำหนด แล้วไม่มีการจดบันทึก
  4. การขโมยวัตถุดิบออกจากร้าน
  5. การฮั้วกับ Supplier

จึงอยากให้เพื่อนๆ ผู้ประกอบการร้านอาหารให้ความสำคัญกับการนับ Stock วัตถุดิบและนำไปเทียบเคียงกับการใช้วัตถุดิบอยู่สม่ำเสมอ เพื่ออุดช่องรั่วไหล ของต้นทุนอาหาร

ช่องโหว่จาก Petty Cash :

Petty Cash คือเงินสดย่อย ที่ทางร้านให้กับผู้จัดการร้านหรือหัวหน้าครัวไว้ เพื่อใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบหรือของต่างๆ ที่มีมูลค่าไม่สูงมาก ไว้ใช้ในการซื้อของจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในวันนั้นๆ  เช่น วันนี้ขายดีมาก น้ำเปล่าหมดเลยต้องไปซื้อที่ร้านสะดวกซื้อมาใช้ก่อน 2 โหล หรือเนื้อไก่หมด ต้องไปซื้อมาใช้ 1 กิโลกรัมก่อนที่วัตถุดิบจะมาส่ง เป็นต้น ดังนั้นเงินสดย่อยจึงมีความจำเป็นต้องมีไว้

แต่เช่นกัน หากผู้ประกอบการบางท่านไม่วางระบบเงินสดย่อยให้รัดกุม ปัญหาที่ตามมาก็คือ เงินสดย่อยถูกนำไปใช่ในเรื่องส่วนตัวของคนที่ถือเงินสดย่อยได้ ดังนั้นหากใครที่ร้านมีเงินสดย่อย สิ่งที่ควรทำคือ

  1. กำหนดเงินสดย่อยในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้งานเช่น มีเงินสดย่อยอยู่ที่ร้าน 3,000 บาท
  2. กำหนดวันเคลียร์เงินสดย่อย เช่น ทุกวันจันทร์ของสัปดาห์
  3. กำหนดเรื่องเอกสารในการใช้เคลียร์เงินสดย่อย เช่น ใบเสร็จรับเงิน พร้อมกับแนบรายงานการใช้เงินสดย่อย เพื่อจะได้พิจารณาว่ามีความเหมาะสมในการใช้มากน้อยแค่ไหน

 

ทั้ง 4 ช่องโหว่ที่กล่าวมานี้ คือส่วนหนึ่งของปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่รู้ว่า ทำไมขายดีแต่กลับได้กำไรน้อยหรือไม่เหลือกำไรนั้นเอง


จัดการต้นทุนร้านอาหารแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ สำหรับเพื่อนๆ ว่าที่ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ประกอบการร้านอาหาร หลักสูตร “กลยุทธ์จัดการต้นทุนร้านอาหาร เพื่ออัพกำไรขั้นสูง” (Cost Control) รุ่น 12 ครบรอบ 1 ปี กำลังเปิดรับสมัครหลักสูตรนี้มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการร้านร้านอาหาร/ร้านเครื่องดื่ม โดยเฉพาะ ทุกเนื้อหาเรากล้าการันตีว่า นำไปใช้เกิดผลบวกต่อกิจการร้านอาหารของเพื่อนๆ ได้จริงในทันทีที่นำไปใช้ และเนื่องจากหลักสูตรนี้ค่อนข้างเต็มเร็ว ดังนั้น สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังจะเปิดร้าน ขอแนะนำให้มาเข้าอบรมหลักสูตรนี้ก่อน ส่วนเพื่อนๆ ที่มีปัญหาเรื่องต้นทุนสูง กำไรน้อย หลักสูตรนี้มีคำตอบ วิธีการแก้ปัญหาและมีเครื่องมือให้นำกลับไปใช้กันฟรีๆ รายละเอียดหลักสูตร คลิก

Cost Control For Restaurant SME

 

บทความแนะนำ

Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร

260,000แฟนคลับชอบ

บทความล่าสุด