ไม่ไหวอย่าฝืน “Cut Loss” ก่อนเจ็บหนัก
การทำร้านอาหารสักร้านของเพื่อน ๆ มันเกิดมาจากความฝัน ความตั้งใจ และความคาดหวังผลลัพธ์ตามที่หวัง แต่โลกธุรกิจมันก็ไม่เป็นอย่างที่เราคิดเสมอไป โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร แม้จะเป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่มีอัตราเติบโตทุกปี และเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นง่ายในความคิดของคนทั่วไป แต่เมื่อได้เข้าสู่ธุรกิจนี้แล้วเกือบ 100% จะพบว่า “ธุรกิจนี้ไม่ง่าย” หลาย ๆ คนใช้ความพยายามทุกวิธีเพื่อเข็นธุรกิจที่รักนี้ไปให้รอด แต่สิ่งที่เราอยากจะบอกจากใจคือ ถ้ามันไม่ไหวอย่าฝืน!
มีสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารบ้านเรายังไม่ค่อยกล้าทำคือ การ “Cut Loss”ยอมถอยก่อนจะหมดตัวส่วนใหญ่จะยอมฝืนทนจดหมดตัวไม่เหลือเงินทุนให้เริ่มต้นใหม่ และที่หนักคือ ยังมีหนี้ติดตัว ซึ่งไม่ดีเลย!!!
หลายคนอาจมีความรู้สึกว่านี่คือร้านที่ลงทุน ลงแรง จึงทำใจไม่ได้หากจะต้องจบมัน ขอฮึดสู้ สู้ สู้ จนเจ็บ สู้น่ะสู้ได้ แต่ต้องสู้แบบรู้ลิมิต สู้อย่างรู้ว่าสถานการณ์ของร้านยังมีโอกาสสู้ได้อยู่ จริง ๆ หรือไม่
แต่ส่วนใหญ่มักสู้ด้วยอารมณ์ ทั้งที่ในความจริงแล้วสู้ไปก็รอดยากเพราะบางร้านไม่ไหวจริงๆ ทำเลไม่ได้ กลุมลูกค้าไม่ใช่ ปัจจัยภ่ยนอกเปลี่ยนไป หรือ แม้แต่บริหารผิดพลาดจนยากจะแก้ไขได้ทัน หรือ เสี่ยงที่จะทนแก้ไข
การทำร้านอาหารคือการทำธุรกิจนักธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้คือคนที่มองเห็นโอกาส วิเคราะห์โอกาสได้ดีถ้าโอกาสไม่รอดมีสูง หรือรอดแต่ก็ไปได้แบบไม่โตก็ควรพิจารณาถอยเพื่อเก็บเงินทุน เก็บพลัง ไว้เริ่มต้นใหม่
สิ่งที่จะบอกเราได้ดีว่า ที่สุดว่า ควรสู้หรือ ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึก แต่ต้องเอาข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์ P&L ตัวเลขกำไร-ขาดทุน จะบอกเราได้ดีว่าสถานะเงินทุนหมุนเวียนของเราอยู่ในขั้นใด ยังไหวหรือไม
ถ้าใครที่คิดจะสู้ต่อสิ่งที่ต้องพิจารณาคือสถานการณ์ที่เป็นอยู่เกิดจากปัจจัยใดและปัจจัยนั้นจะคงอยู่ไปอีกนานเท่าไหร่ มีวิธีจัดการแก้ไขได้จริงหรือ ที่สำคัญเงินทุนที่เรามีเพียงพอให้สู้ต่อหรือไม่
ถ้าวิเคราะห์แล้วยังมีลุ้นให้สู้ได้ สิ่งที่ต้องทำเป็นพิเศษคือ การบริหารต้นทุน ใส่ใจกับ QSC และลุยการตลาดแบบเป็นระบบ อย่าสู้แบบเดิม ๆ ไปวัน ๆ เด็ดขาด
แต่ถ้าวิเคราะห์แล้วมองไม่เห็นโอกาสทอง“Cut Loss” ก่อนจะสายเจ็บน้อยดีกว่าเจ็บมากซึ่งหลายๆ กรณีการ “Cut Loss”อาจไม่ได้หมายถึงการเจ็บตัวเสมอไปเพราะเมื่อหักค่าเสื่อมของอุปกรณ์ต่างๆเราอาจเหลือกำไรจากการ “Cut Loss” ก็ได้
การต้องยุติ ไม่ได้หมายถึงการสิ้นสุด เก็บเงินทุน เก็บพลัง ไว้เริ่มต้นใหม่ เอาประสบการณ์ที่เจอมาวิเคราะห์ เรียนรู้ หาจุดอ่อน จุดผิดพลาด เพื่อวางแผนสร้างร้านใหม่ที่จะไม่ให้เป็นเหมือนเดิม
ประชาสัมพันธ์ เปิดรับสมัครแล้ว
หลักสูตร “Cost Control For Restaurant SME รุ่น 16” รุ่นสุดท้ายของปี
เรื่องต้นทุนอย่ารอให้แย่ เพราะมันจะแก้ไม่ทัน
?รุ่น 16 อบรมวันที่ 16-17 ตุลาคม 2562
? หัวข้อเนื้อหาหลักสูตร ?
?Part เนื้อหาเข้มข้นวันที่ 16 ตุลาคม 62
? 1. ปรับพื้นฐานกับ 3 ระบบที่ร้านอาหารต้องรู้และมี!!
▬▬
? 2. การบริหารต้นทุนอาหาร (Foodcost Management)
?? 2.1. ขั้นตอนการคำนวณต้นทุนอาหารต่อจาน
?? 2.2. 7 กลยุทธ์ตั้งราคาขายอัพกำไร
?? 2.3. การออกแบบเมนูเพื่อควบคุมต้นทุน
?? 2.4. อุดช่องโหว่ระหว่างเปิดร้านที่ทำให้ต้นทุนสูง (Waste , Stat , Yield)
?? 2.5. การจัดการกับระบบ Inventory Stock
?? 2.6. หลักในการทำเมนูใหม่เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มยอดขาย
▬▬
?3. การจัดการต้นทุนค่าแรง (Laborcost Control)
?? 3.1. การบริหารค่าแรงพนักงานอย่างถูกวิธี
?? 3.2. การออกแบบสวัสดิการเพื่อขวัญกำลังใจ
▬▬
?4. 20 เทคนิคกับการใช้พลังงานให้คุ้มค่า (Utilitycost Control)
▬▬
? “Q&A ถามตอบทุกประเด็นปัญหาร้านอาหาร
▬▬▬▬▬
?Part Workshop วันที่ 17 ตุลาคม 62
•รูปแบบการสอน : เน้นการปฏิบัติให้ดูเป็นแนวทาง
?Food Safety , Food Hygiene และหลักสุขาภิบาล (สำคัญมาก)
? คำแนะนำในการนำวัตถุดิบที่เหลือจากการตัดแต่งมาสร้างเมนูใหม่ (ตัวเพิ่มกำไร)
? วิธีการเตรียมวัตถุดิบหรือการวางอุปกรณ์, จุดเครื่องปรุง, การหยิบของ FIFO,workflow (ตัวควบคุมต้นทุน)
? วิธีการจัดเก็บวัตถุดิบต่าง ๆ ผัก, เนื้อสัตว์ และวัตถุดิบอื่น ๆ ที่มักเก็บผิดวิธี (ตัวควบคุมต้นทุน)
? การดูแลอุปกรณ์ในห้องครัว เช่น วิธีทำความสะอาดเขียง, การลับมีด, การดูแลหัวเตา และอื่น ๆ (ตัวควบคุมต้นทุน)
? เทคนิคการทำอาหารต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการ SME สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เช่น การซูวี, การบรายน์, การทำละลาย อื่น ๆ (ตัวเพิ่มกำไร)
? เทคนิคเพิ่มมูลค่าอาหารด้วยการ แต่งจาน และการเลือกภาชนะ (ตัวเพิ่มกำไร)
? สูตรนับ Stock วัตถุดิบเพื่อทำ P&L (ตัวควบคุมต้นทุน)
??พิเศษที่สุด!!!
เฉพาะท่านที่เข้าอบรมหลักสูตรนี้เท่านั้นรับฟรี!
เครื่องมือตัวช่วยในการบริหาร จัดการร้านอาหารของท่านให้มีประสิทธิภาพในการทำกำไรเพิ่มขึ้น ได้แก่
1. เครื่องมือออกแบบต้นทุนร้านอาหารของท่าน
2. เครื่องมือลงบันทึกยอดขาย วิเคราะห์ข้อมูลยอดขาย เพื่อวางแผนปรับกลยุทธ์ธุรกิจ
3. เครื่องมือสำหรับบันทึกงบกำไร-ขาดทุน
4. ไฟล์เอกสารกฎระเบียบร้านค้า (ไฟล์พร้อมสำหรับแก้ไข)
5. ไฟล์เอกสารฝ่ายบุคคล
เครื่องมือทั้งหมดนี้มีมูลค่ารวม 5,000 บาท
แต่เรามอบให้ผู้เข้าเรียนทุกท่าน ฟรี!!!
▬▬▬▬▬
➡ สถานที่อบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
➡เวลา 9.00 น.-16.00 น.
มาแต่ตัวพร้อมของใช้จำเป็นส่วนตัว
อย่างอื่นเราเตรียมให้พร้อม
▬▬▬▬▬
? อัตราค่าหลักสูตร
? เพียง 7,900 บาท/ท่าน เท่านั้น!!!
(จากราคาปกติ 12,000 บาท)
- Advertisement -