เมื่อร้านอาหารเข้าระบบเดลิเวอรี่ ผู้ประกอบการมือใหม่ต้องระวังเรื่องใดบ้าง

ในวิกฤตโควิด-19 การนำร้านอาหารเข้าสู่ระบบ เดลิเวอรี่ ถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดในตอนนี้เลยก็ว่าได้ เนื่องจากผู้คนทานอาหารนอกบ้านน้อยลง เลือกการสั่งอาหารแบบ เดลิเวอรี่ กันมากขึ้น

จึงทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารรายอื่น เลือกที่จะปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ด้วยเช่นกัน  แต่บริการ เดลิเวอรี่ ก็ถือว่าเป็นปัญหาแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ เพื่อไม่ให้ลูกค้าหนีหาย กำไรหด สิ่งที่ต้องระวัง มีดังนี้

1.โปรโมชันและราคา

โปรโมชันและราคา ถือเป็นด่านแรกในการเรียกลูกค้า ไม่มีใครไม่ชอบของแถม ลดราคา ดังนั้น ผู้ประกอบการมือใหม่ ก็จำเป็นต้องมีช่วงจัดโปรโมชันบ้าง

เช่น จัดเป็นเซ็ตเมนูสุดคุ้มราคาเบา ๆ เอาใจลูกค้า, สั่งอาหารครบ 4 อย่างแถมน้ำ 1 ขวด, หรือสั่งอาหารครบ 199 บาท แลกซื้อแก้วน้ำสุดน่ารักในราคา 159 บาท จากราคาปกติ 229 บาท เป็นต้น

โปรโมชันและราคา

2.ภาพเมนูอาหาร

ภาพเมนูอาหาร ถือเป็นกลยุทธ์ในการเรียกลูกค้าอีกอย่างหนึ่ง ยิ่งภาพมีความสวย สีสด น่าทาน ก็มีแนวโน้มสูงที่ลูกค้าจะตัดสินใจสั่งเมนูนี้ ภาพเมนูอาหาร ควรมีลักษณะชัด สีสด ลูกค้าเห็นเป็นต้องอยากสั่งมาทาน

ยกตัวอย่างเช่น เมนูก๋วยเตี๋ยวต้มยำหมูเด้ง คุณอาจจะเน้นถ่ายตรงหมูเด้งให้เห็นถึงความฉ่ำของหมู มีเครื่องเคียง จัดใส่ชามให้ดูน่าทาน และสิ่งที่ผู้ประกอบการหลายคนพลาดคือ

ชื่อเมนูกับภาพเมนูไม่ตรงกัน ร้านอาหารบางร้าน ใช้ภาพเดียวกันแทบทุกเมนู ซึ่งนอกจากลูกค้าจะไม่เห็นน่าตาเมนูแล้ว ยังทำให้ตัดสินใจยากอีกด้วย หรือมองข้ามเมนูนั้นไปเลย

และเรื่องสุดท้าย อาหารต้องตรงปก อย่าจกตาลูกค้าเด็ดขาด! เพราะอาจทำให้ลูกค้าผิดหวังภายหลัง อาหารตรงปกคือ ภาพเมนูอาหาร กับ อาหารที่ลูกค้าได้รับ ต้องมีน่าตาเหมือนกัน ไม่ใช่ในภาพเป็นรูปกุ้งตัวใหญ่มากมีประมาณ 6 ตัว  แต่สิ่งที่ลูกค้าได้รับคือ กุ้งตัวเล็ก ๆ มี 4 ตัว

ภาพเมนูเดลิเวอรี

3.เมนูอาหาร

การส่งอาหารแบบ เดลิเวอรี่ ก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของเมนูอาหาร เพราะการเสิร์ฟอาหารจะไม่เหมือนการทานในร้านอีกต่อไป มีคนกลาง และใช้รถเป็นพาหนะในการส่งอาหาร ดังนั้น เมนูอาหารควรเป็นอาหารที่ทานง่าย, จัดเก็บง่าย, รักษาสภาพอาหาร หน้าตา และรสชาติได้

ยกตัวอย่าง จากเดิมร้านอาหารของคุณขายหมูจุ่ม จะให้ยกไปทั้งหม้อดินก็คงลำบาก หรือจะทำเหมือนร้านหมูกระทะส่งตามบ้าน และตอนเช้าเข้ามาเก็บกระทะก็คงไม่ใช่  คุณอาจจะแบ่งเป็นวัตถุดิบเนื้อสัตว์, ผัก, น้ำซุปแยก และให้ลูกค้าทำทานที่บ้าน

หรือคุณอาจจะลวกให้เลย ลูกค้าไม่ต้องยุ่งยากในการลวกเอง แต่ข้อเสียคือ ถ้าใช้เวลาในการส่งอาหารนาน ลูกค้าอาจจะได้อาหารที่เย็น อืด ทานไม่อร่อยได้

ร้านอาหาร ควรมีเครื่องเคียงอย่าง ไข่ดาว, ไข่เจียว, ไข่ไก่สด, ข้าวเปล่า และมีเครื่องดื่มหรือขนมหวานติดไว้ เพื่อที่ลูกค้าจะได้จบที่ร้านอาหารของคุณเลย หรือคุณอาจจะจัดเมนูเซ็ต เพื่อความหลากหลาย

หมายเหตุ ในสถานการณ์แบบนี้ การเลือกวัตถุดิบที่ราคาไม่สูงจนเกินไป ถือเป็นเรื่องที่ดี

เมนูอาหารเดลิเวอรี่[irp posts=”6531″ name=”กลยุทธ์การยกระดับอาหารเดลิเวอรี่ ด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารอย่างมืออาชีพ”]

4.แพคเกจจิ้ง

สำหรับแพคเกจจิ้ง หากเป็นอาหารแห้ง หรืออาหารที่มีน้ำราดเล็กน้อย ถ้ามีงบมากหน่อย แนะนำว่า ใช้กล่องที่ดูแข็งแรง มีฝาปิดสนิทยิ่งดีค่ะ เพราะไม่รู้ว่า คนส่งอาหารจะดูแลอาหาร จัดเก็บ ระวังอาหารได้ดีมากน้อยแค่ไหน บางทีลูกค้ารับอาหาร น้ำราดไหลเต็มถุงเลยก็มี

ส่วนถ้าเป็นเครื่องดื่ม คุณก็อาจจะแยกน้ำกับน้ำแข็งให้ลูกค้า และปิดฝาแก้วน้ำแข็งให้สนิท หรือถ้าเป็นเครื่องดื่มชานมไข่มุกที่มีท็อปปิ้งเพิ่มอย่างวิปครีม ครีมชีส ที่คุณไม่สามารถแยกน้ำกับน้ำแข็งได้ ก็ควรเลือกแก้วที่มีฝาปิดสนิท และปิดด้วยเทปอีกชั้น กันน้ำหกระหว่างทาง

หรือคุณอาจจะนำท็อปปิ้งใส่กระปุกแยกไว้ ให้ลูกค้าใส่เองที่บ้านก็ได้ นอกจากจะไม่เสียรสชาติแล้ว ลูกค้ายังได้ความรู้สึกเหมือนซื้อจากหน้าร้านอีกด้วย อาจจะเพิ่มเงินสักหน่อย แต่ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำแน่นอนค่ะ

แพคเกจจิ้ง เดลิเวอรี่

5.บริการเดลิเวอรี่

สำหรับบริการ เดลิเวอรี่ ที่ผู้คนรู้จักและใช้บริการกันเป็นจำนวนมาก ได้แก่ Gojek, LINE MAN, GrabFood, และFoodpanda สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่สนใจอยากจะใช้บริการเดลิเวอรี่ ควรศึกษารายละเอียด เปรียบเทียบแต่ละที่ให้ดีเสียก่อนว่า

เมื่อร้านอาหารของคุณเข้าร่วม คุณได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ต้องเสียค่า GP เท่าไหร่ เพราะแต่ละที่มีค่า GP ไม่เท่ากัน หลายคนอาจงง ค่า GP คืออะไร?

GP หรือ Gross Profit  คือ ค่าใช้จ่ายที่ทางร้านอาหารต้องเสียให้กับบริการเดลิเวอรี่ หรือเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น คือ ค่าธรรมเนียม สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังลังเล เพราะกลัวเสียค่า GP แพง ล่าสุด ทาง LINE MAN ได้ออกมาตรการช่วยเหลือร้านอาหารช่วงโควิด-19

โดยการ เปิดให้ขายแบบ GP ฟรี 15 วัน สำหรับร้านอาหารใหม่ที่ไม่เคยเข้าร่วมการขายแบบ GP มาก่อน และมีการแจกคูปองส่วนลดให้ร้านที่มี GP และ Non-GP อีกด้วย เพื่อกระตุ้นยอดขาย

หมายเหตุ สำหรับ LINE MAN ร้านที่มี GP จะมีการคิด % กับร้านอาหาร แต่ลูกค้าได้ค่าส่งเริ่มต้น 0 บาท ส่วนร้านอาหารที่เป็น Non-GP จะไม่มีการคิด % กับร้านอาหาร แต่ลูกค้าจ่ายค่าส่งตามระยะทางจริง

ดังนั้น คุณเลือกเอาว่า ต้องการแบบไหน ถ้าเลือก GP คุณอาจจะได้ลูกค้าที่เยอะขึ้นจากเดิม  แต่ถ้า Non-GP คุณก็อาจจะได้ลูกค้าละแวกใกล้ร้านอาหารคุณ

บริการเดลิเวอรี่

6.การบริการหลังการขาย

ถ้าในเรื่องของการบริการดูแลลูกค้า การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ อาจทำได้ไม่ดีนัก เมื่อเทียบกับการที่ลูกค้านั่งทานอาหารในร้าน แต่สิ่งที่ทำได้คือ คุณอาจจะโทรไปหาลูกค้า

ถามถึงรสชาติอาหารว่าเป็นอย่างไร, ควรปรับปรุงในเรื่องไหนบ้าง, สินค้าได้รับครบถ้วนไหม เป็นต้น แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่เชื่อสิ่ ลูกค้าประทับใจร้านอาหารคุณอย่างแน่นอน

การบริการหลังการขาย

9eak
9eak
ทดสอบครับ

Related Articles

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Stay Connected

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -spot_img

Latest Articles