การขึ้นทะเบียนประกันสังคม ฉบับนายจ้างมือใหม่

ประกันสังคม ถือเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละองค์กรควรให้ความสนใจอย่างมาก เพราะนอกจากจะส่งผลดีต่อลูกจ้างหรือพนักงานในองค์กรแล้ว ยังทำให้องค์กรของคุณดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

อีกทั้ง ช่วงนี้เชื้อไวรัสโควิด 19 ระบาดหนัก รายได้จากการทำงานในแต่ละเดือนลดน้อยลง ประกันสังคม ก็จะช่วยเยียวยาในส่วนนี้ นั่นเอง สำหรับใครต้องการทราบเกี่ยวกับประกันสังคมเพิ่มเติม เรารวบรวมมาไว้ที่นี่แล้วค่ะ

ประกันสังคม คืออะไร ?

ประกันสังคม ถือเป็นสวัสดิการที่ทางรัฐมอบให้แก่ลูกจ้าง แต่นายจ้างและลูกจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด โดยลูกจ้างจะถูกหักจากเงินเดือน 5% หรือสูงสุดไม่เกิน 750 บาท, นายจ้างจ่ายสมทบ 5% และ รัฐบาลร่วมจ่ายสมทบอีก 2.75%

หมายเหตุ เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างและลูกจ้าง ต้องนำส่งกองทุนประกันสังคมทุกเดือน

ประกันสังคม คืออะไร

ทำไมการทำประกันสังคมถึงสำคัญ ?

หากคุณเป็นลูกจ้างหรือพนักงาน เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วย หรือคลอดบุตร คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้เลยค่ะ ประกันสังคมก็จะช่วยในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล, ค่าชดเชย, ค่าคลอดบุตร, รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ควรได้รับ โดยที่คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเลยสักบาทเดียว

หรือถ้าคุณเป็นเจ้าขององค์กร องค์กรของคุณก็จะเกิดความน่าเชื่อถือ คนที่สนใจอยากร่วมงานในองค์กรของคุณก็จะเกิดความเชื่อมั่น และเขาจะรู้สึกว่า องค์กรของคุณดูมีความมั่นคง อีกทั้ง ยังส่งผลดีต่อลูกค้าหรือคู่ค้า อีกด้วย

ทำไม ประกันสังคมถึงสำคัญ

ผู้ประกันตนคืออะไร ?

ผู้ประกันตน เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยมาก แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า คืออะไร ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างหรือพนักงานที่มีการจ่ายค่าประกันสังคมทุก ๆ เดือน ซึ่งผู้ประกันตนจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1.ลูกจ้าง หรือพนักงานประจำ

ลูกจ้าง หรือพนักงานประจำ ที่มีอายุมากกว่า 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ทางกฎหมายเรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 33

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครองทุกกรณี ไม่ว่าจะเรื่องการเจ็บป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ รวมไปถึงการว่างงาน

ยกตัวอย่าง กรณีคลอดบุตร คุณสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาทต่อการคลอดบุตร 1 ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนเป็นระยะเวลา 90 วัน

หรือกรณีที่คุณว่างงาน ถูกเลิกจ้าง คุณจะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วันในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท หรือกรณีที่เสียชีวิต และมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน จะได้ค่าทำศพ 40,000 บาท

หมายเหตุ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดด้วยว่า ต้องจ่ายค่าสมทบเท่าไหร่ ในระยะเวลาเท่าใด ถึงจะได้รับสิทธิ์จากประกันสังคม สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

ลูกจ้าง พนักงาน

2.บุคคลที่เลิกเป็นลูกจ้างประจำ ลูกจ้างที่ลาออกจากงาน

เป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไม่ต่ำกว่า 1 ปี ลาออกไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และไม่เป็นผู้ทุพพลภาพอีกด้วย ทางกฎหมายเรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 39

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

หมายเหตุ หลังจากลาออก หากคุณต้องการเป็นผู้ประกันตนต่อหรือต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม สามารถแจ้งกับสำนักงานประกันสังคมได้เลยค่ะ และต้องแจ้งภายใน 6 เดือนหลังจากมีการแจ้งออกจากงาน และส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

บุคคล

3.บุคคลที่ทำงานอิสระ

บุคคลที่ทำงานอิสระ และต้องไม่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39  อายุ 15-60 ปี ทางกฎหมายเรียกว่า ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 สามารถเลือกสิทธิความคุ้มครองได้ โดยสามารถเลือกจ่ายเงินสมทบ ดังนี้

บุคคลที่ทำงานอิสระ

จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องของกรณีเจ็บป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ และเสียชีวิต

  • เจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุ รับเงินทดแทนขาดรายได้ 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนขาดรายได้ 500 – 1,000 ต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
  • เสียชีวิต รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท หากมีการจ่ายเกิน 60 เดือน รับเงินเพิ่มอีก 3,000 บาท

จ่ายเงิน 70

จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องของกรณีเจ็บป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต และชราภาพ

  • เจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุ รับเงินทดแทนขาดรายได้ 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนขาดรายได้ 500 – 1,000 ต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
  • เสียชีวิต รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท หากมีการจ่ายเกิน 60 เดือน รับเงินเพิ่มอีก 3,000 บาท
  • ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน

จ่ายเงิน 100

จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องของกรณีเจ็บป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร

  • เจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุ รับเงินทดแทนขาดรายได้ 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วันต่อปี
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนขาดรายได้ 500 – 1,000 ต่อเดือนตลอดชีวิต
  • เสียชีวิต รับเงินค่าทำศพ 40,000 บาท
  • ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
  • สงเคราะห์บุตร 200 บาทต่อคน ต่อเดือน รอบละไม่เกิน 2 คน

จ่ายเงิน 300[irp posts=”1871″ name=”ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์ร้านอาหาร”]

การขึ้นทะเบียนประกันสังคม

สำหรับนายจ้างที่เป็นเจ้าของกิจการคนเดียว หรือเป็นนิติบุคคล หากมีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน  หากรับลูกจ้างเพิ่ม ก็ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันอีกเช่นกัน

การขึ้นทะเบียนสังคม

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับนายจ้าง

กรณีนายจ้างจดทะเบียนนิติบุคคล

  • แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมวัตถุประสงค์
  • สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่สะดวก สามารถให้ผู้อื่นมาทำเรื่องแทนได้ พร้อมติดอากรแสตมป์)

หมายเหตุ หากไม่มีสำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถใช้สำเนาคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, สำเนาภาษีธุรกิจเฉพาะ, หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานได้ค่ะ

กรณีนายจ้างเป็นเจ้าของคนเดียว

  • แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
  • แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่สะดวก สามารถให้ผู้อื่นมาทำเรื่องแทนได้ พร้อมติดอากรแสตมป์)

หมายเหตุ  หากไม่มีสำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร สามารถใช้สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน, สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, หรือสำเนาทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะได้

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับลูกจ้างหรือพนักงาน

  • แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-02)
  • แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
  • แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03/1)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาใบอนุญาตทำงานต่างด้าว (กรณีที่เป็นคนต่างด้าว)

หมายเหตุ แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-02 เป็นหนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ส่วนแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03/1 สำหรับผู้ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อนแล้ว

สถานที่ขึ้นทะเบียนประกันตน

  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12
  • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา

วัน-เวลาการเปิดทำการ

วันจันทร์ – วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.

หมายเหตุ ควรวางแผนวัน-เวลาการเดินทาง และเตรียมเอกสารให้พร้อมนะคะ

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนประกันสังคม

  1. นายจ้างหรือตัวแทน ยื่นคำขอและเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ (แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง สปส.1-01, แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-02, แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03, หรือแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03/1 สำหรับผู้ที่เคยยื่นสปส.1-03 )
  2. จากนั้น เจ้าหน้าที่จะพิจารณา เมื่อได้รับอนุมัติ นายจ้างจะได้เลขที่บัญชี, ประเภทกิจการ, อัตราเงินสมทบ, ใบประเมินเงินสมทบ, และกองทุนเงินทดแทน

หมายเหตุ การขึ้นประกันสังคม ไม่มีการเสียค่าธรรมเนียม และนายจ้าง ไม่สามารถยื่นเรื่องเข้าประกันสังคม ภายใต้กิจการตนเองได้

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน

ถ้าไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จะเกิดอะไรขึ้น?

หากไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ตามที่กฎหมายกำหนด นายจ้าง ถือว่ามีความผิดค่ะ อาจจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม

หลังจากขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว ควรทำอย่างไรต่อ?

นายจ้าง จะต้องนำเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือนให้กับสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่นายจ้างขึ้นทะเบียนไว้ เงินสมทบ ได้มาจากไหน?

ก็ได้มาจากการหักจากเงินเดือนของลูกจ้าง และเงินจากนายจ้าง โดยนายจ้างสามารถยื่นข้อมูลเงินสมทบผ่านทางออนไลน์ของสำนักงานประกันสังคมได้ มีขั้นตอน ดังนี้

หลังขึ้นทะเบียน

ขั้นตอนการยื่นข้อมูลเงินสมทบ

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม เลือก สถานประกอบการ หรือคลิก  เลือก ส่งข้อมูลเงินสมทบ
  2. เลือกวิธีส่งเงินสมทบ
  3. เลือกสถานประกอบการ, วิธีการนำส่งข้อมูล, งวดเดือน-ปี-พ.ศ. วันที่ทำรายการ
  4. จากนั้น อัพโหลดไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ”
  5. สรุปข้อมูลเงินสมทบ ตรวจสอบรายละเอียดการส่งเงินสมทบ และส่งข้อมูลเงินสมทบ
  6. เลือกวิธีชำระเงิน เลือกผ่านธนาคารกรุงไทย และยืนยันการชำระเงิน เท่านี้ ถือเป็นอันเสร็จสิ้นแล้วค่ะ

หมายเหตุ  สำหรับวิธีการส่งข้อมูลเงินสมทบในขั้นตอนที่ 3 หากมีสาขาเดียวและผู้ประกันตนน้อยกว่า หรือเท่ากับ 20 คน ให้ยื่นแบบกรอกข้อมูล

  • หากส่งข้อมูลเงินสมทบสาขาเดียว แต่จำนวนผู้ประกันตนมากกว่า 20 คน ให้ยื่นแบบอัพโหลดไฟล์
  • หากต้องการส่งข้อมูลเงินสมทบมากกว่า 1 สาขา และมีผู้ประกันตนน้อยกว่า หรือเท่ากับ 20 คน ให้ยื่นรวมแบบกรอกข้อมูล
  • หากต้องการส่งข้อมูลเงินสมทบมากกว่า 1 สาขา และมีผู้ประกันตนมากกว่า 20 คน ให้ยื่นรวมแบบอัปโหลดไฟล์

ขั้นตอนการยื่นข้อมูลเงินสมทบ

ล่าสุด รัฐบาลจัดโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ และสมุทรสาคร โดยคุณสามารถตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้ดังนี้

โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33

เกณฑ์การรับเงินเยียวยา สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33

  • ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  • สัญชาติไทย
  • ได้รับเงินเยียวยาคนละ 2,000 บาท

เกณฑ์การรับเงินเยียวยา สำหรับนายจ้าง

  • นายจ้าง ได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาท X จำนวนลูกจ้าง แต่ไม่เกิน 200 คน
  • นายจ้างรายใหม่ (ขึ้นทะเบียนประกันสังคม วันที่ 29 มิ.ย – 30 ก.ค 64) ได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาท ต่อจำนวนลูกจ้าง แต่ไม่เกิน 200 คน

เกณฑ์การรับเงินเยีบวยา

ช่องทางการรับเงินเยียวยา สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือลูกจ้าง สามารถรับเงินเยียวยา ได้ที่บัญชีพร้อมเพย์ ที่มีการผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว

ช่องทางรับเงินเยียวยา

ช่องทางการรับเงินเยียวยา สำหรับนายจ้าง

นายจ้างที่เป็นเจ้าของคนเดียว หรือเป็นนิติบุคคล ทางสำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากตามที่นายจ้างได้แจ้งไว้

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ด้วยตนเองที่  สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12, สำนักงานประกันสังคมจังหวัด, สำนักงานประกันสังคมส่วนกลาง หรือ โทร 1506

ช่องทางรับเงินเยียวยา นายจ้าง

 

 

บทความแนะนำ

Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร

260,000แฟนคลับชอบ

บทความล่าสุด