มาคำถามมาบ่อย ๆ ถึงเรื่องอัตราค่าแรงพนักงานแผนกต่าง ๆ ในร้านอาหาร ว่าโดยปกติค่าแรงสำหรับพนักงานในครัวและพนักเสิร์ฟในร้านอาหารประเภทตามสั่ง หรือจานด่วน และประเภท cafe ควรอยู่ระดับไหน หรือมีวิธีคิดค่าตอบแทนแบบใด เช่น กุ๊ก ผู้ช่วยกุ๊ก พนักงานล้างจาน พนักงานเสิร์ฟอาหาร และพนักงานชงเครื่องดื่ม วันนี้เรานำคำตอบพร้อมแนวทางกำหนดค่าแรงมาแบ่งปัน
ต้องบอกก่อนว่าคำตอบนี้เป็นค่าแรงที่สามารถให้ร้านเราแข่งขันกับร้านอื่น ๆ ได้ในการรักษาพนักงานไว้กับเรานาน ๆ ก็ดี ช่วยให้เรามีต้นทุนพนักงานที่ไม่สูงมากก็ดี หรือ รวม ๆ แล้วก็คือ ค่าแรงตามความนิยมในแวดวงของกิจการร้านอาหารในปัจจุบัน
ค่าแรงพนักงานร้านอาหาร (สำหรับพอแข่งขันได้)
➡ พนักงานประจำเสิร์ฟและครัว เริ่มต้น เงินเดือน”รวม” = 11,000 บาท (อาจจะเป็นเงินเดือน 10,000 + Tip + เบี้ยขยัน ก็ได้)
➡ พนักงานประจำเสิร์ฟและครัว ที่มีประสบการณ์ เงินเดือน”รวม” = 12,000 – 13,000 บาท
(เป็นค่าแรงใน กทม. นะครับ หากเป็นจังหวัดอื่นๆ ลองไปสำรวจพวกใบประกาศรับสมัครงานตำแหน่งต่างๆ ดูจะมีอัตราแจ้งบอกไว้ ก็จะได้ข้อมูลในท้องถิ่นที่ตรงกว่า)
ค่าแรงควรอยู่ระดับไหน
1.ควรวางตำแหน่งพนักงานในร้านก่อนว่ามีตำแหน่งหลักๆ อะไรที่ต้องใช้จริงบ้าง จากนั้นมาใส่เงินเดือนทีละตำแหน่ง โดยพิจารณาให้เงินเดือนพนักงานอยู่ในเกณฑ์ที่พอแข่งขันได้ในตลาด
2.เมื่อได้ข้อแรกแล้ว ให้ประมาณการณ์ยอดขายในแต่ละเดือนที่เป็นไปได้ โดยให้ค่าใช้จ่ายค่าแรงอยู่ที่ 15-18% ของรายได้ เช่น ขายได้เดือนละ 1 ล้านบาท ค่าแรงทั้งร้านควรอยู่ระหว่าง 150 k – 180 k และลองนำข้อมูลในข้อแรกมาลองวางดูว่าเงินเดือนเกินหรือไม่ (จากประสบการณ์หากเกิน 18% ก็ยังพอมีช่องว่างให้ไหลได้ถึง 20%อยู่นะครับ)
3.ลองเดินสำรวจราคาพนักงานตามห้างดูก็ได้นะครับจะได้ทราบว่าร้านอาหารแต่ละร้านเขาจ้างกันที่เดือนละกี่บาท มีสวัสดิการอะไรบ้าง (ห้างบางทีจะไม่ให้ติดป้ายรับสมัครพนักงานหน้าร้าน ให้ลองไปดูแถวๆ ห้องน้ำหรือจุดเดินเข้า-ออกของพนักงานห้างดูนะครับ)
ส่วนสวัสดิการที่แนะนำมีให้เลือก ดังต่อไปนี้
➡ เบี้ยขยัน : เดือนละ 500 บาท พนักงานจะต้องไม่ ป่วย สาย ขาดงาน หรือลากิจ ในเดือนนั้นๆ ถึงจะได้ 500 บาท แต่ถ้าป่วยหรือสาย ไม่เกิน 1 ครั้ง ให้ 300 บาท เป็นต้น
➡ สวัสดิการค่ารถ/ค่าอาหาร : ให้วันละ 40-50 บาท โดยให้เฉพาะวันที่มาทำงานตรงต่อเวลา ไม่สลับรอบการทำงานเท่านั้น
➡ Incentive รายเดือน : หากพนักงานทุกคนช่วยกันดันยอดขายให้ได้ตามเป้าที่ตั้งรับเงินรางวัลไปเลย X,XXX บาท/สาขา (เช่น ปกติขายได้เดือนละ 300,000 บาท ก็ตั้งเป้าไปว่า ขายได้ 330,000 บาท รับไปเลย 5,000 บาท)
➡ Incentive รายวัน : เหมือนอันก่อนหน้านี้แค่ทำเป็นรายวัน
(แต่การให้ Incentive จากยอดขายให้คำนึงดีๆ ว่า ให้ไปแล้วกำไรเราให้หดนะครับ เพราะ Incentive อันนี้เราให้จากยอดขายที่ยังไม่หักค่าใช้จ่าย)
➡ วันหยุดในวันเกิด : วันเกิดพนักงาน ทางร้านให้หยุดได้เลยฟรีอีก 1 วันจากวันหยุดปกติ และมีเค้กให้เป่า หรือของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
นี่เป็นหลักประชานิยมหมายถึงประชาชนคนทำร้านอาหารในปัจจุบันนิยมปฏิบัติกันครับ ถ้าจะให้สรุปแบบง่ายๆ เลยก็ “เอาใจเขาใส่ใจเรา” เราอยู่ได้เขาก็ต้องอยู่ได้แบบมีมาตรฐานชีวิตที่เขามีความสุข เรื่องตัวค่าแรงเรากำหนดเป็นมาตรฐานไว้ แล้วไปเล่นในส่วนเงินพิเศษอื่นๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจมากขึ้นให้กับพนักงานครับ แต่อย่าไปหน้ามืดขึ้นเงินเดือนเพื่อรั้งตัวพนักงานในกรณีที่พนักงานเล่นตัว ถ้าทำอย่างนั้นปัญหาจะตามมาเยอะไม่จบครับ
[บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเพื่อนแท้ร้านอาหาร ห้ามคัดลอก ดัดแปลงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวในเชิงการค้าทุกรูปแบบ]
TR:กระต่ายดำ124
เปิดรับสมัครแล้ว หลักสูตรที่มีผู้ประกอบการร้านอาหารกว่า 1,000 คน 1,000 ร้าน จากในประเทศและต่างประเทศไว้วางใจมาเรียนมากที่สุด
หลักสูตร “Cost Control For Restaurant SME กลยุทธ์จัดการต้นทุน ให้ร้านอาหารทำกำไร
เปิดรับสมัครรุ่น 13 เรียนวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2561
ถ้าเพื่อน ๆ มีปัญหาเรื่องต้นทุนสูง หรือเพื่อน ๆ ที่กำลังจะทำร้านอาหารเราขอร้องให้มาเข้าหลักสูตรนี้ เพราะจะช่วยแก้ปัญหาที่เพื่อน ๆ เผชิญอยู่เรื่องต้นทุน และทำให้เพื่อน ๆ จัดการต้นทุนของร้านได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ขายแล้วเหลือกำไร เราไม่ได้ตั้งใจขายคอร์สเพื่อผลประโยชน์ของเรา แต่เรามุ่งหวังผลประโยชน์ของเพื่อนๆ เป็นสำคัญ ดังนั้นหากเข้าอบรมแล้วไม่พอใจในเนื้อหาเรายินดีคืนเงินให้ครบทุกบาท อยากให้เพื่อน ๆ มาเพื่อปัญหาเรื่องต้นทุนจะได้มีวิธีจัดการอย่างถูกต้องเห็นผลเสียที!
เรียนก่อน รู้ก่อน นำไปใช้ก่อน โอกาสสำเร็จมีก่อน คอร์สนี้เต็มค่อนข้างเร็ว!!
รายละเอียดหลักสูตรและวิธีการสมัครคลิกด้านล่าง
(ยังไม่ประกาศรับสมัครหน้าแฟนเพจอย่างเป็นทางการ หลักสูตรนี้เต็มเร็ว!)