เก็บมาแล้วจากประสบการณ์เจอกับตัวอิทธิฤทธิ์รีวิวอีกแล้ว แต่กรณีนี้มีมุมน่าสนใจเป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนๆ ผู้ประกอบการร้านอาหารSME ที่กำลังจะขยายร้านหรือทำเป็นแฟรนไชส์ว่า ถ้าระบบจัดการภายในร้านยังไม่พร้อมอย่าเพิ่งรีบเพราะผลเสียนอกจากจะสร้างความผิดหวัง เจ็บปวดให้กับลูกค้าแล้วยังทำให้แบรนด์ขาดความน่าเชื่อถือไปด้วย
เรื่องมีอยู่ว่า ร้านอาหารซีฟู๊ดแบรนด์หนึ่งเด้งโชว์หน้าเฟซ เห็นรูป เห็นรีวิว มีเคลมออกสื่อรายการทีวีดังๆ ชวนสนใจเลยต้องไปลอง ตอนนั้นไม่รู้ว่าเป็นรูปแบบเฟรนไซส์ ไปถึงสิ่งที่คิด กับสิ่งที่เป็นมันคนละเรื่องกันเลย ร้านบรรยากาศไม่เข้ากับประเภทอาหาร อาหารออกช้า ขาดความสด รสชาติสำหรับส่วนตัวติดหวานมากทุกเมนู ที่สร้างความรู้สึกไม่โอเคเลยก็คือ มี Service Charge แต่ไม่มี Service อะไรเลย เอาอาหารมาเสิร์ฟแล้วก็หายกันไปหมดที่เหลือลูกค้าService ตัวเอง
(ประเด็นนี้คนทำร้านอาหารโปรดระวัง เพราะเมื่อไหร่ที่ในเมนูมีดอกจันระบุเก็บ Service Charge ลูกค้าจะขาดหวังServiceที่มากกว่าแค่เอาอาหารมาเสิร์ฟ)
สั่ง 4 เมนูจ่ายไปพันกว่าบาท เรื่องราคาเคยยกประเด็นบ่อยๆ ว่าจะถูกจะแพงอยู่ที่ความรู้สึกของลูกค้าว่า “คุ้ม” หรือไม่ ถ้าอร่อย ถ้าสด ถ้าบริการดี จะเท่าไหร่ก็ “คุ้ม”แต่ถ้าไม่อร่อย ไม่สด บริการแย่ จะเท่าไหร่ก็รู้สึกว่า “แพง”
ทราบภายหลังว่าแบรนด์นี้เป็นแฟรนไชส์ใครซื้อแฟรนไชส์มาสิ่งที่ได้คือ มีการสอนทำเมนูต่างๆ ซื้อวัตถุดิบจากเขา ที่เหลือก็เป็นเรื่องของแฟรนไชส์ซีไปทำเอาเอง เข้าไปส่องดูที่สาขาแม่โอ้โห สาขาแม่ดูดีทุกอย่างแต่ทำไมสาขาแฟรนไชส์ตรงกันข้ามล่ะ?
มันบ่งบอกถึงการขายแฟรนไชส์แบบระบบไม่พร้อมซึ่งอาหารรูปนี้ควรเป็นแฟรนไชส์ระบบไม่ใช่แฟรนไชส์ขายขาดเอาจำนวน ทางตัวแม่ควรมีระบบจัดการให้กับทางสาขา ควรมีเรื่องของธีม รูปแบบร้าน เรื่องการตรวจสอบคุณภาพรสชาติ บริการเพราะถ้าเป็นแบบนี้ มันเสี่ยงสร้างภาพลบกลับมาหาตัวเองมากและยังทำให้แฟรนไชส์ซีเสียงไปไม่รอดด้วย
ผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวนหนึ่งมองแฟรนไชส์เป็นตัวปั่นเงินขายแฟรนไชส์เอาเงินก้อน ขายวัตถุดิบได้ต่อเนื่องเลยมองแฟรนไชส์เป็นอะไรง่ายๆ ซึ่งมันเป็นบาปกรรมให้กับคนซื้อแฟรนไชส์เพราะเขาบริหารจัดการต่อไม่ได้ คุมคุณภาพไม่ได้ การทำแฟรนไชส์คือการโตไปด้วยกันคือการขายสูตรสำเร็จในการบริหารจัดการร้านทุกอย่างเพื่อให้คนที่ขาดประสบการณ์เริ่มต้นธุรกิจได้ ดังนั้นถ้า ระบบไม่พร้อมอยาเพิ่งรีบ เพราะจะพาคนอื่นเจ๊งไปด้วย