ธุรกิจร้านอาหาร ต้องใช้ใบอนุญาตอะไรบ้าง ?

นอกจาก ธุรกิจร้านอาหาร จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องมีคือ ใบอนุญาต ซึ่งใบอนุญาตก็จะมีข้อกำหนด

และรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป แล้วเพราะอะไรทำไมใบอนุญาตถึงสำคัญต่อ ธุรกิจร้านอาหาร ถ้าไม่มีใบอนุญาตจะเกิดอะไรขึ้น บทความนี้มีคำตอบค่ะ

ทำไมต้องขอใบอนุญาต ?

การเปิดร้านอาหาร หรือ ขายอาหาร ในทางกฎหมาย ถือเป็นธุรกิจที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค หรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยละแวกใกล้ ๆ

ดังนั้น จึงมีการออกกฎหมายมาว่า “ผู้ใดที่จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน” โดยต้องทำหนังสือรับรองการแจ้ง หรือ ขอรับใบอนุญาต

ทำไมต้องขอใบอนุญาต

สถานที่จำหน่ายอาหาร และ สถานที่สะสมอาหาร คืออะไร

ก่อนจะเข้าเรื่อง เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า สถานที่จำหน่ายอาหาร และ สถานที่สะสมอาหารคืออะไร

สถานที่จำหน่ายอาหาร 

สถานที่จำหน่ายอาหาร เป็นสถานที่ในการปรุงอาหารและจำหน่ายอาหาร สามารถซื้อแล้วทานได้ทันที หรือนำกลับไปทานในสถานที่อื่น ๆ ได้ สถานที่จำหน่ายอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารตามสั่ง, ร้านข้าวราดแกง, ร้านก๋วยเตี๋ยว, ศูนย์อาหาร, โรงอาหาร,

ร้านกาแฟ, ร้านอาหารญี่ปุ่น, ร้านอาหารอิตาเลี่ยน หรือที่ขึ้นชื่อว่า ร้านอาหารรวมถึงแผงลอยที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่เอกชน ซึ่งที่กล่าวมา ยังต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่นและกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารอีกด้วย

สถานที่ ธุรกิจร้านอาหาร

สถานที่สะสมอาหาร 

สถานที่สะสมอาหาร คือ สถานที่จัดเก็บอาหารที่มีทั้งของสด ของแห้ง หรือในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อผู้ซื้อจะได้นำไปประกอบอาหาร, เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร, หรือเก็บไว้บริโภคในภายหลัง

เช่น ร้านสะดวกซื้อ, มินิมาร์ท, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ร้านขายของชำ เป็นต้น อีกทั้ง สถานที่สะสมอาหาร จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด รวมถึงควบคุมโรคโควิด-19 และโรคอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย

เมื่อคุณเข้าใจความหมายของสถานที่จำหน่ายอาหาร และ สถานที่สะสมอาหารแล้ว หากคุณเริ่มต้น ธุรกิจร้านอาหาร และเป็นผู้ประกอบการ นอกจากจะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว

สิ่งที่ควรทำต่อมาคือ  การทำหนังสือรับรองการแจ้ง หรือ ขอใบอนุญาต ทั้งนี้ การขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารนั้น จะแบ่งตามพื้นที่ประกอบกิจการของคุณ

สถานที่สะสมอาหาร 

พื้นที่ประกอบกิจการของคุณ

  • พื้นที่ประกอบกิจการ ไม่เกิน 200 ตารางเมตร

หากพื้นที่ประกอบกิจการของคุณ ไม่เกิน 200 ตารางเมตร คุณต้องยื่นเรื่องขอรับ “หนังสือรับรองการแจ้ง” (ใบอนุญาตร้านอาหาร/ใบอนุญาตขายอาหาร) มีค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

พื้นที่ประกอบกิจการ ไม่เกิน 200 ตารางเมตร

  • พื้นที่ประกอบกิจการเกิน 200 ตารางเมตรขึ้นไป

หากพื้นที่ประกอบกิจการของคุณเกิน 200 ตารางเมตรขึ้นไป คุณต้องยื่นเรื่องขอรับ “ใบอนุญาต” (ใบอนุญาตร้านอาหาร/ใบอนุญาตขายอาหาร) มีค่าธรรมเนียม 3,000 บาท

หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมอาจมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ด้วยค่ะ หากพื้นที่ประกอบกิจการของคุณไม่เกิน 10 ตารางเมตร ค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 200 บาทค่ะ

พื้นที่ประกอบกิจการเกิน 200 ตารางเมตรขึ้นไป

ใครบ้างที่สามารถยื่นคำขอใบอนุญาตได้

  • บุคคลธรรมดา
  • นิติบุคคล

แต่การยื่นคำขอในรูปของบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ก่อน โดยระบุวัตถุประสงค์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ว่า “เป็นการประกอบกิจการร้านอาหารหรือจำหน่ายอาหาร”

ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก่อน เพราะว่าในการจะขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร จำเป็นต้องใช้สำเนาทะเบียนพาณิชย์ร่วมด้วย

สำหรับการยื่นคำขอในรูปของนิติบุคคล ผู้ประกอบการต้องระบุวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหาร หรือธุรกิจร้านอาหารในหนังสือรับรองนิติบุคคล

เอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งร้านอาหาร
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับเป็นนิติบุคคล)
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (กรณีผู้ขอรับเป็นนิติบุคคล)
  • หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ประกอบการไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง)
  • ผลการตรวจสุขภาพหรือใบรับรองแพทย์ของพนักงานผู้สัมผัสอาหาร
  • แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ตั้งสถานประกอบการ

หมายเหตุ หากมีสำเนาใบวุฒิบัตรผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร หรือ ใบอนุญาตจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีโปรดนำมาด้วยนะคะ

สถานที่การยื่นคำขอใบอนุญาต หรือ ขอหนังสือรับรองการแจ้ง

  • สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร
  • สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล
  • สำนักงานเทศบาลสำหรับร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล
  • สำนักงานเมืองพัทยา

ขั้นตอนการขอใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง

เมื่อคุณทราบแล้วว่า ธุรกิจร้านอาหารของคุณ มีพื้นที่เท่าใด และต้องยื่นแบบไหน โดยขั้นตอนการขอใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้งมี ดังนี้

  1. เตรียมหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม
  2. ติดต่อที่สำนักงานเขตที่ตั้งของร้านอาหาร
  3. กรอกแบบฟอร์ม สอ.1 ตามที่เจ้าหน้าที่จัดให้ (ใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือ หนังสือรับรองการจัดตั้ง)
  4. เมื่อกรอกแบบฟอร์มเสร็จเรียบร้อย ยื่นเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่เลยค่ะ หากตรวจหลักฐานถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งในเรื่องสุขลักษณะของร้านอาหาร เจ้าหน้าที่ก็จะเสนอต่อผู้อำนวยการเขต เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการจัดตั้ง
  5. เมื่ออนุมัติให้ออกใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการจัดตั้ง เจ้าหน้าที่จะแจ้งคุณให้มารับเอกสาร พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่คุณได้รับแจ้ง
  6. เมื่อคุณได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการจัดตั้งแล้ว ต้องแสดงอย่างเปิดเผย อาจจะไว้ในร้านอาหารหรือมุมที่ผู้คนเห็น

หมายเหตุ หากเลย 15 วัน คุณไม่มารับใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง และไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามเวลาที่กำหนด จะถูกยกเลิกทันที

ใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองมีอายุกี่ปี ?

มีอายุ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาต และให้ใช้ในเขตนั้น ๆ

หากเปิดธุรกิจร้านอาหาร โดยไม่ได้ยื่นขอใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองอย่างถูกต้อง จะเกิดอะไรขึ้น ?

  • ไม่มีใบอนุญาต มีโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  • ไม่มีหนังสือรับรองการแจ้ง มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท

หมายเหตุ หากฝ่าฝืนข้อบัญญัติท้องถิ่น มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หากฝ่าฝืนกฎกระทรวง ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

ใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองมีอายุกี่ปี

การต่อใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง

การต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร สามารถยื่นคำขอต่อ (แบบ สอ.5) ได้เลยค่ะ เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว คุณก็สามารถประกอบกิจการต่อได้เลย

ส่วนหนังสือรับรองการแจ้ง ไม่ต้องยื่นคำขอต่ออายุรายปีค่ะ แต่ต้องชำระค่าธรรมเนียมทุกปี

การต่อใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง

ถ้าไม่มีการต่อใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง จะเกิดอะไรขึ้น?

หากคุณไม่ได้ยื่นเรื่องขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นอย่างถูกต้อง คุณปล่อยให้ใบอนุญาตหมดอายุ หรือคุณต้องการจะต่อใบอนุญาต แต่ชำระในช่วงที่ใบอนุญาตหมดอายุแล้ว คุณจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 20 ของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ

ถ้าไม่มีการต่อใบอนุญาต หรือ หนังสือรับรองการแจ้ง จะเกิดอะไรขึ้น

หากใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองแจ้งหายทำอย่างไร ?

หากสูญหาย, ถูกทำลาย, หรือชำรุด ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่สำนักเขตนั้น ๆ เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด

หากต้องการแก้ไขรายการในใบอนุญาตร้านอาหารทำอย่างไร ?

สามารถยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการได้เลยค่ะ

หากใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองแจ้งหายทำอย่างไร[irp posts=”13315″ name=”การขึ้นทะเบียนประกันสังคม ฉบับนายจ้างมือใหม่”]

ใบอนุญาตอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบการร้านอาหารควรรู้

นอกจากการขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารแล้ว หากร้านอาหารของคุณเข้าข่ายตามที่ได้กล่าวไว้ด้านล่างนี้ คุณก็ต้องขอใบอนุญาตเพิ่มด้วย มิเช่นนั้น คุณอาจจะโดนจำคุก เสียค่าปรับได้ค่ะ

ร้านอาหารมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ

  • ยื่นเรื่องขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราและใบอนุญาตยาสูบ ที่กรมสรรพสามิตในพื้นที่ร้านอาหารของคุณ โดยใบอนุญาตมีอายุ 1 ปี
  • สำหรับใบอนุญาตจำหน่ายสุราและใบอนุญาตยาสูบ มีการเสียค่าธรรมเนียมด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณการขายด้วยค่ะ อย่างคุณขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละ 10 ลิตรขึ้นไป คุณจะเสียค่าธรรมเนียมปีละ 5,500 บาท เป็นต้น

หมายเหตุ ต้องยื่นเรื่องขอก่อนนะคะ ถึงจะจำหน่ายได้  แต่ถ้าคุณจำหน่ายโดยไม่มีใบอนุญาต หรือใบอนุญาตไม่ตรงตามที่แจ้งไว้ โดนปรับไม่เกิน 5,000 บาท

สุรา

ร้านอาหารมีการเต้นบนเวที, แสดงดนตรีสด, ตลก หรือเข้าข่ายสถานบันเทิง

ในกรณีนี้ คุณต้องยื่นเรื่อง 2 อย่าง คือ  ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และ ขออนุญาตตั้งสถานบริการ

ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  • พื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ สำนักงานเขต
  • ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ขออนุญาตตั้งสถานบริการ

  • พื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ ตำรวจนครบาล
  • พื้นที่ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด

ร้านอาหาร มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ

ร้านอาหารมีการเปิดเพลงหรือถ่ายทอดสด

ถ้าร้านอาหารเปิดเพลงที่ติดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเปิดจากแผ่นบันทึกเสียง หรืออินเทอร์เน็ต คุณจำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน โดยอัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับเจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดค่ะ

ร้านอาหาร มีการเปิดเพลงหรือถ่ายทอดสด

ร้านอาหารมีป้ายหน้าร้าน

หากคุณมีจุดประสงค์ เพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดป้ายหน้าร้าน หรือการโฆษณาร้านอาหารตามตึก มีป้ายไฟ ก็ต้องเสียภาษีป้ายค่ะ

ร้านอาหาร มีป้ายหน้าร้าน

ร้านอาหาร มีปริมาณอาหารหรือเครื่องดื่มจำนวนมาก และรบกวนผู้อื่น หรือส่งกลิ่นเหม็น

คุณต้องขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  • สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ สำนักงานเขต
  • ส่วนต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ร้านอาหาร มีปริมาณอาหารหรือเครื่องดื่มจำนวนมาก และรบกวนผู้อื่น หรือส่งกลิ่นเหม็น

วัตถุดิบใดบ้างที่มีปริมาณมาก ๆ ต้องขออนุญาต

ปลาร้า, แหนม, น้ำปลา, หอยดอง, น้ำบูดู, ไตปลา, น้ำพริกแกง, ซีอี๊ว, น้ำจิ้ม, ซอสปรุงรสต่าง ๆ, เส้นหมี่, ก๋วยเตี๋ยว, เต้าหู้, เนย, เนยเทียม, กาแฟทุกรูปแบบ, น้ำส้มสายชู, ไวน์, ข้าวหมาก, น้ำแข็ง (รวมถึงการขนส่งด้วย), น้ำอัดลม, น้ำกลั่น, ขนมปังแห้ง, ขนมปังสด, ใบชาแห้ง, ใบชาผง

วัตถุดิบใดบ้างที่มีปริมาณมาก ๆ ต้องขออนุญาต

ร้านอาหารมีก๊าซหุงต้มไว้ครอบครอง

  • แจ้งครอบครองวัตถุอันตราย ถ้ามีก๊าซหุงต้ม ปริมาณน้อยกว่า 1000 กิโลกรัม หรือประมาณ 20 ถังใหญ่
  • ขออนุญาตครอบครองวัตถุอันตราย ถ้ามีก๊าซหุงต้ม ปริมาณมากกว่า 1000 กิโลกรัม หรือประมาณ 20 ถังใหญ่

พื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการธุรกิจพลังงาน ส่วนพื้นที่ต่างจังหวัด สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานพลังงานจังหวัด

หมายเหตุ หากธุรกิจของคุณมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี คุณต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนะคะ ที่สำนักงานสรรพากร

ร้านอาหาร มีก๊าซหุงต้มไว้ครอบครอง

9eak
9eak
ทดสอบครับ

Related Articles

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Stay Connected

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -spot_img

Latest Articles