เปิดกลยุทธ์ Shinkanzen Sushi ทำอย่างไรให้ธุรกิจร้านอาหารรอดพ้นวิกฤต COVID-19

ในสถานการณ์วิกฤต COVID-19 ร้านอาหารหลาย ๆ ร้านได้มีการปิดตัวลง เหตุเพราะแบกรับภาระต้นทุนต่าง ๆ ไม่ไหว จำนวนลูกค้าน้อยลง ยอดขายในร้านอาหารลดลงและมีการแข่งขันที่สูงขึ้น

แต่สำหรับ Shinkanzen Sushi แล้ว แม้ว่าร้านอาหารจะเผชิญวิกฤตหนักแค่ไหน เขาก็สามารถรับมือได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างยอดขาย 600 ล้าน ภายใน 5 ปี! ซึ่งต้องบอกเลยว่า ไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ

จุดเริ่มต้นของ Shinkanzen Sushi

คุณชนวีร์ หอมเตย กรรมการบริษัท ฟู๊ด ซีเล็คชั่น จำกัด กล่าวว่า “จุดเริ่มต้นของ Shinkanzen Sushi เริ่มมาจากความสนใจของผมกับหุ้นส่วน หุ้นส่วนก็คือ เพื่อนที่เรียนบริหารธุรกิจมาด้วยกัน เราทั้งคู่อยากเปิดร้านซูชิเลยตระเวนดูแถวตลาดรังสิต

ซึ่งพบว่า แถวนั้นยังไม่มีร้านซูชิร้านไหนที่เหมาะกับนักศึกษาเปิดเลย เราจึงมองเห็นโอกาสตรงนั้นและคิดว่ามันน่าจะทำกำไรได้ เลยเริ่มทำการเปิดขายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นสาขาแรก

โดยซูชิของทางร้าน Shinkanzen Sushi ราคาเริ่มต้นเพียงคำละ 11 บาท เท่านั้น ซึ่งเหมาะกับนักเรียน นักศึกษาอย่างมาก ส่วนในร้านจะเป็นร้านเล็ก ๆ นั่งได้ 7-8 โต๊ะ ผลตอบรับดีมาก บวกกับช่วงนั้นเฟซบุ้กกำลังดัง ลูกค้าจึงมีการแชร์ร้านและบอกต่อ ๆ กัน”

เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นได้มีการขยายสาขาเพิ่มในห้างสรรพสินค้า และคุณชนวีร์มองเห็นว่า  Shinkanzen Sushi ไม่ได้เหมาะสำหรับนักศึกษาเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับกลุ่มครอบครัว กลุ่มพนักงานบริษัท

จากนั้น เขาจึงเริ่มขยายสาขาออกไปยังตัวเมืองมากขึ้น จนปัจจุบัน Shinkanzen Sushi มีสาขามากถึง 31 สาขา และภายในระยะเวลา 5 ปี  Shinkanzen Sushi ทำรายได้มากถึง 600 ล้านบาท !

จุดแข็งของ Shinkanzen Sushi

  • วัตถุดิบต้องมีคุณภาพ
  • ราคาไม่แพง ลูกค้าสามารถเอื้อมถึง

[irp posts=”14522″ name=”กรณีน่าศึกษากลยุทธ์กู้วิกฤต ข้าวขาหมูพ.4 ปรับแนวคิด เปลี่ยนวิธี ใช้สูตรที่มีพัฒนาเป็นสินค้าทำกำไร”]

กลยุทธ์ที่ทำให้ Shinkanzen Sushi ยอดขายพุ่ง !

1.บริหารต้นทุน โดยใช้กลยุทธ์ Zero Waste

ใช้วัตถุดิบอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด จากเดิมที่คุณชนวีร์ใช้แค่ส่วนเนื้อของปลาแซลมอน 1 ตัวมาทำซูชิ ซาซิมิ และส่วนที่ไม่ได้ใช้ก็จะนำไปทิ้ง เขาเลยเกิดความคิดที่ว่า เราควรพยายามนำทุกส่วนมาประกอบอาหาร ไม่ใช่ปล่อยทิ้งไปเฉย ๆ หลังจากนั้น เขาจึงนำหัวปลาแซลมอนไปต้มซอส ตัวท้องปลาแซลมอนนำไปทำเมนูทอด  ส่วนเศษปลาที่ตัดเหลือไว้ก็จะนำไปทำไส้ของปอเปี๊ยะ

2.มีทีม Chef Training

มีทีม Chef Training ไว้สำหรับดูแลน้อง ๆ ในครัวและคอยดูเรื่องมาตรฐานของอาหาร

3.มีครัวกลาง

การมีครัวกลางจะมีไว้ผลิตซอสต่าง ๆ และเป็นที่แล่ปลา จากนั้น ก็จะนำส่งต่อสาขา เพื่อให้ทางสาขาพร้อมใช้ต่อไป

ผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 และการปรับตัวของ  Shinkanzen Sushi

คุณชนวีร์ กล่าวว่า “Shinkanzen Sushi ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID -19 หนักมาก ลูกค้าหาย อีกทั้ง มีการปิดศูนย์การค้า เราเลยต้องหันมาทำในรูปแบบเดลิเวอรี่ และใช้วิธีหาพื้นที่เช่าข้าง ๆ ศูนย์การค้า

เมนูที่ทำขายจะเป็นแซลมอนไข่ดอง ผลตอบรับของลูกค้าดีมากอีกเช่นกัน ลูกค้าเริ่มสั่งเดลิเวอรี่กันมากขึ้นและได้เริ่มทำเมนูข้าวหน้าเบนโตะให้เหมาะกับคนที่ทำงาน work from home ลูกค้าสามารถทานได้ภายใน 1 มื้อ”

การสต็อกสินค้า

ก่อนหน้านี้ Shinkanzen Sushi มีการลงวัตถุดิบเต็มคลัง จึงเกิดผลกระทบหนัก คุณชนวีร์จึงต้องลดสเกลวัตถุดิบลง เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น โดยการสั่งของมาน้อยลง แต่ถี่ขึ้นกว่าเดิม เช่น ปกติใน 1 เดือน สั่งวัตถุดิบ 1 ครั้ง ก็เปลี่ยนมาสั่งเดือนละ 2 ครั้งแทน และเน้นการทำโปรโมชันมากขึ้นคือ ให้ลูกค้าเปิดแอปพลิเคชันมา ต้องเจอร้านเราเป็นร้านแรก

เป้าหมายในยุค New Normal

การเลือกทำเลพื้นที่

คุณชนวีร์ กล่าวว่า “เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเปิดให้ได้ทั่วประเทศและจากเดิมที่เลือกทำเลตามพื้นที่แถวชุมชน ต่อไปต้องเลือกทำเลที่มีไรเดอร์จำนวนเยอะ ๆ ”

มุมมองการสร้างร้านอาหาร

จากเดิมที่ Shinkanzen Sushi รองรับแต่ลูกค้า Dine in ยิ่งมีจำนวนโต๊ะมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งขายได้มาก แต่พอมาในยุค New Normal กลับกลายเป็นว่า ต้องลดจำนวนโต๊ะลง และเพิ่มโซนที่สามารถขายเดลิเวอรี่ ขาย Take Away ได้ มีโซนสำหรับแพ็คสินค้า เพื่อมารอไรเดอร์

บทความแนะนำ

Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร

260,000แฟนคลับชอบ

บทความล่าสุด