รายละเอียด เยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 พร้อมขั้นตอนวิธีสมัคร

สำนักงานประกันสังคมแจงรายละเอียดและขั้นตอนลงทะเบียน e-services เยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ประเภท 4 กิจการ ในพื้นที่สีแดงเข้ม จากผลกระทบโควิด

ตามที่คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติโครงกการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในพื้นที่สีแดงเข้มภายใต้กรอบวงเงิน 2,519.3800 ล้านบาท เมื่อวันอังคารที่ 6 ก.ค.ที่ผ่านมา ครอบคลุม 4 กิจการ ดังนี้

  1. กิจการก่อสร้าง
  2. กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
  3. กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
  4. กิจการกิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ
แต่ละประเภทมีแยกย่อย ดังนี้

นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ ผู้ตรวจราชการกรมสำนักงานประกันสังคม ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคม  ได้อธิบายว่า กิจการก่อสร้างจะแบ่งประเภทกิจการตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย โดยยกตัวอย่างกิจการก่อสร้างที่จะได้รับการเยียวยา เช่น การก่อสร้างฐานราก การตอกเสาเข็ม การติดตั้งชิ้นส่วนเหล็ก การก่ออิฐ การทำงานบนที่สูง ช่างอิฐ ช่างปูน ช่างไม้ การเช่าปั้นจั่นพร้อมคนขับ รวมถึงรถเครน เช่น บริษัท ก รับเหมาก่อสร้างตึก ว่าจ้างรถเครนบริษัท ข มาทำงาน ลูกจ้างของบริษัท ข ก็มีสิทธิได้รับการเยียวยาตาม

กิจการพักแรม  ยกตัวอย่างคือโรงแรม รีสอร์ต ห้องชุด เกรสเฮาส์ ที่พักสัมผัสวัฒนธรรม กิจกรรมที่พักแรมระยะสั้น

กิจการด้านอาหาร ตัวอย่างเช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร แผงลอย/ในตลาด ร้านอาหารเคลื่อนที่ บริการอาหารจัดเลี้ยง บริการอาหารสำหรับกิจการขนส่ง การดำเนินงานของโรงอาหาร รวมถึงผับ บาร์ ร้านขายเครื่องดื่ม นม น้ำผลไม้ด้วย

จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ยังไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ขอให้มาขึ้นทะเบียนเข้าระบบเพื่อ เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ใน 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต อีกทั้งยังได้รับเงินเยียวยาเพิ่มเติมจากรัฐบาลกรณีได้รับผลกระทบจากคำสั่งของรัฐ

เงินเยียวยาประกันสังคม | เพื่อนแท้ร้านอาหร

 

พื้นที่สีแดงเข้ม 6 จังหวัดที่ได้รับสิทธิ

 กรุงเทพมหานคร

นครปฐม

สมุทรสาคร

ปทุมธานี

นนทบุรี

สมุทรปราการ

 

ลงทะเบียนเยียวยาผ่านระบบ e-services

สำหรับลงทะเบียนรับเงินเยียวยา ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ผู้ประกอบการมีหน้าที่ลงทะเบียนรับสิทธิให้ลูกจ้าง โดยลงทะเบียนผ่านออนไลน์ใน ระบบ e-services บนเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคมทั้งนี้ ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม แต่ไม่เกิน 7,500 บาทต่อเดือน

 

รับเยียวยาเพิ่มอีก 2,000 บาท

กระทรวงการคลังจะจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างสัญชาติไทยเพิ่มอีกรายละ 2,000 บาท ส่วนผู้ประกอบการรับเงินเยียวยาจำนวน 3,000 บาทต่อลูกจ้างหนึ่งคน สูงสุดไม่เกิน 200 คนต่อแห่ง

ในส่วนผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ยังไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ขอให้มาขึ้นทะเบียนประกันสังคมในระหว่างวันที่ 29 มิ.ย.- 30 ก.ค.64 โดยสามารถขึ้นทะเบียนผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับเงินเยียวยา โดยลูกจ้างสัญชาติไทยรับเงินรายละ 2,000 บาท นายจ้างรับ 3,000 บาทลูกจ้างหนึ่งคน สูงสุดไม่เกิน 200 คนต่อแห่ง โดยกระทรวงการคลังจะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัตรประชาชน ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยติดต่อสายด่วนประกันสังคม 1506 กด 1 ตลอด 24 ชั่วโมง

เงินเยียวยาประกันสังคม | เพื่อนแท้ร้านอาหร
ขั้นตอนวิธีลงทะเบียนมี ดังนี้

ลงทะเบียนขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต

  • เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
  • เลือกขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต กรอกข้อมูลให้ครบ เพื่อลงทะเบียน สปส. 1-05
  • ระบบส่งแบบลงทะเบียน (สปส. 1-05) กลับทาง e-mail เพื่อพิมพ์แบบลงทะเบียนส่งสำนักงานประกันสังคม
  • ผู้มีอำนาจลงนาม ประทับตราและพยาน 2 ท่าน
  • สำนักงานประกันสังคมอนุมัติส่ง User-ID ให้ทาง e-mail เพื่อสถานประกอบการสามารถส่งข้อมูลงานทะเบียน
  • แจ้งเข้า – แจ้งออก เปลี่ยนแปลงข้อมูลและส่งเงินสมทบประจำเดือน
ส่งข้อมูลทะเบียนผู้ประกันตน

นายจ้างดำเนินการส่งข้อมูลทะเบียนผู้ประกันตนตามขั้นตอน ดังนี้

  • เข้าเว็บไซต์ sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
  • เลือกเมนู ทะเบียนผู้ประกันตน กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (User-ID)
  • เลือกเมนูที่จะดำเนินการ
  • ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน/แจ้งรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน (สปส.1-03)
  • บันทึกขึ้นทะเบียนสำหรับผู้ที่เคยมีบัตรรับรองสิทธิแล้ว
  • แจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09)
  • แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ประกันตน (สปส.6-10)
  • ส่งข้อมูลทะเบียนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (สปส.1-04)
ขั้นตอนการส่งข้อมูลเงินสมทบ
  • เข้าเว็บไซต์ sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ
  • เลือกเมนู ทะเบียนผู้ประกันตน กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (User-ID)
  • เลือกวิธีการยื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ
  • ส่งเงินสมทบแบบแยกยื่น (สปส.1-10)
  • ส่งเงินสมทบแบบยื่นรวมสาขา (สปส.1-10/1)
  • เลือกสถานประกอบการ (เลขที่บัญชีนายจ้าง และลำดับที่สาขา)
  • เลือกวิธีการนำส่งข้อมูล (งวดเดือน ปี พ.ศ.) และเลือกวิธีการนำส่งข้อมูลการส่งเงินสมทบ
  • กรอกข้อมูล (กรอกเลขบัตรประชาชน และค่าจ้าง)
  • แนบไฟล์ (เลือกรูปแบบไฟล์ และไฟล์เงินสมทบที่จะนำส่งเงินสมทบ)

ที่มา: สำนักงานประกันสังคม

9eak
9eak
ทดสอบครับ

Related Articles

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

Stay Connected

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม
- Advertisement -spot_img

Latest Articles