สำหรับใครเป็นนายจ้างไม่มีลูกจ้าง หรือทำงานเป็นฟรีแลนซ์ และไม่ได้อยู่ในระบบ ประกันสังคมมาตรา 40 หากจะรับเงินเยียวยา 5,000 บาท
จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนก่อนนะคะ และต้องขึ้นทะเบียนภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เท่านั้น สำหรับวิธีการขึ้นทะเบียน ประกันสังคมมาตรา 40 มีดังนี้
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าประกันสังคมตามมาตรา 40
- สัญชาติไทย
- อายุตั้งแต่ 15 ปี แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท หรือมีนายจ้าง
- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39
- ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย 00)
หมายเหตุ ผู้พิการที่รับรู้สิทธิ สามารถสมัครได้ค่ะ
เอกสารการสมัคร
- บัตรประชาชน
สถานที่สมัคร
หากคุณไม่สะดวกไปที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ คุณสามารถสมัครได้ที่..
- เซเว่น-อีเลฟเว่น ทุกสาขา
- เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
- สายด่วนประกันสังคม 1506 กด 1
- ธนาคาร ธ.ก.ส. ทุกสาขา
- Big C ซูเปอร์เซ็นเตอร์
- เครือข่ายประกันสังคมทั่วประเทศ
ขั้นตอนการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ผ่านเว็บไซต์)
- เข้าไปที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม หรือคลิกที่นี่
- เลือกลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40
- กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
- เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จเรียบร้อย จะแจ้งยืนยันผ่านทาง SMS
- จากนั้น คุณต้องทำการชำระเงินสมทบ เมื่อคุณชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นอันเสร็จสิ้นค่ะ เพียงเท่านี้ คุณก็รอรับเงินเยียวยาได้เลย
ช่องทางการชำระเงินสมทบ
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารกสิกร
- ธนาคารกรุงเทพ
- ทีเอ็มบีธนชาต
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารธกส.
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส
- ShopeePay
- ตู้บุญเติม
- CenPay
- ห้างเทสโก้โลตัส
- บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์
หมายเหตุ อย่าลืมเก็บหลักฐานไว้ด้วยนะคะ เนื่องจากสิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จะเริ่มตั้งแต่วันที่ชำระเงินเป็นต้นไป
ช่องทางการรับเงินเยียวยา
สำหรับเงินเยียวยา คุณจะได้รับเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น และคาดว่า จะได้รับเงินเยียวยาในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้
[irp posts=”13374″ name=”รายละเอียด เยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 พร้อมขั้นตอนวิธีสมัคร”]
สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนตามมาตรา 40
จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน
จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องของกรณีเจ็บป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
กรณี เจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุ (เงื่อนไขการรับสิทธิ ไม่เกิน 30 วันต่อปี)
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วัน ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ วันละ 200 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ ครั้งละ 50 บาท
กรณีทุพพลภาพ (ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ เป็นเวลา 15 ปี)
- ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
กรณีเสียชีวิต
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท
จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน
หากจ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องของกรณีเจ็บป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต และชราภาพ
กรณี เจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุ (เงื่อนไขการรับสิทธิ ไม่เกิน 30 วันต่อปี)
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วัน ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ วันละ 200 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ ครั้งละ 50 บาท
กรณีทุพพลภาพ (ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ เป็นเวลา 15 ปี)
- ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
กรณีเสียชีวิต
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท
กรณีชราภาพ
- สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ 50 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน
หากจ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องของกรณีเจ็บป่วย, เกิดอุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร
กรณี เจ็บป่วย หรือ เกิดอุบัติเหตุ (เงื่อนไขการรับสิทธิ ไม่เกิน 90 วันต่อปี)
- ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วัน ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ วันละ 300 บาท
- ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุด 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ วันละ 200 บาท
กรณีทุพพลภาพ (ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ตลอดชีวิต)
- ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน
- เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
กรณีเสียชีวิต
- ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
กรณีชราภาพ
- สะสมเงินบำเหน็จชราภาพ ได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ 150 บาท
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนรับเงินเพิ่ม 10,000 บาท
- ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท
กรณีสงเคราะห์บุตร
- ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน
หมายเหตุ ไม่ว่าจะเลือกจ่ายเงินสมทบจำนวนเท่าใด ถ้าเข้าเกณฑ์ตามที่กำหนด จะได้สิทธิรับเงินเยียวยา 5,000 บาทค่ะ และหลังจากสมัคร คุณสามารถจ่ายเงินสมทบต่อ หรือไม่ส่งต่อก็ไม่มีการบังคับใด ๆ
และข่าวดีอีกหนึ่งเรื่องสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ทางสำนักงานประกันสังคมได้ลดอัตราเงินสมทบ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2564 – 31 มกราคม 2565
- จากเดิมจ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน เหลือจ่ายเพียง 40 บาทต่อเดือน
- จากเดิมจ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน เหลือจ่ายเพียง 60 บาทต่อเดือน
- จากเดิมจ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน เหลือจ่ายเพียง 180 บาทต่อเดือน
เงื่อนไขการรับเงินเยียวยา
- ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องเปิดบัญชีพร้อมเพย์ ที่ผูกกับบัตรประชาชน เท่านั้น
- สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 รายเก่า หากมีคุณสมบัติครบตามที่กำหนด จะมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลงทะเบียน หรือไปที่สำนักงานประกันสังคม เพียงแค่ “ผูกพร้อมเพย์ ด้วยบัตรประชาชน”
- ไม่ใช่ว่าทุกคนมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา ผู้ที่จะได้รับเงินเยียวยา ต้องประกอบอาชีพอยู่ในเกณฑ์ 9 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร, การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า, การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์, กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน, กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ, ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร, การก่อสร้าง, กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ, ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการและต้องอยู่ใน 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, และสงขลา
สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 หากติดปัญหาส่วนไหน สามารถเข้ามาพูดคุย สอบถามได้เลยนะคะ
Resource : https://www.sso.go.th