หน้าแรกCost Control ทำไมร้านอาหาร SME ส่วนใหญ่ ตั้งราคาขายผิด จน ขาดทุน❗ By เพื่อนแท้ร้านอาหาร มิถุนายน 29, 2021 0 5686 FacebookTwitterPinterestWhatsApp อาการ “ขายดี แต่เจ๊ง” หรือ ขายดีมีแต่เงินหมุนไม่เหลือเงินให้เก็บเพราะไม่มีกำไรเป็นอาการที่เกิดกับเพื่อน ๆ ผู้ประกอบการร้านอาหารSMEยุคนี้ หลายร้านลูกค้าเยอะมากแต่ถึงเวลาดูบัญชีเห็นตัวเลขแล้วเครียด “ไม่เหลือกำไร” หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่เราพบว่า ทำให้เพื่อน ๆ ไม่เหลือกำไรมาจากการตั้งราคาขายผิด! เพื่อน ๆ จำนวนไม่น้อยตั้งราคาจากความรู้สึกกะ ๆ เอา หรือเทียบเอาจากร้านในละแวกนั้นโดยไม่ได้คำนวณต้นทุนวัตถุดิบแต่ละเมนู นี่คือ เรื่องอันตรายของการทำธุรกิจร้านอาหาร เรื่องต้นทุน อย่าใช้ความรู้สึกคิดเอาเอง การที่เพื่อน ๆ ไม่ได้ทำต้นทุน หรือทำ แต่ทำผิด เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ๊ง กรณีที่พบบ่อย ๆ คือ คิดต้นทุนวัตถุดิบจากราคาที่ซื้อมาแค่จุดนี้จุดเดียวก็ทำให้เพื่อน ๆ ตั้งราคาผิดแล้ว เพราะวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ซื้อมาไม่สามารถนำไปใช้งานได้ทั้ง 100% มีส่วนตัดแต่งต้องทิ้งไป หรือ เรียกว่า Yield ซึ่งส่วนนั้นก็คือต้นทุนที่เพื่อน ๆ จ่ายไป ดังนั้น การทำต้นทุนอาหารเพื่อน ๆ ต้องคำนวณจากวัตถุดิบที่ใช้ได้จริงเท่านั้นการคำนวณหาปริมาณ Yield ทำได้โดยใช้สูตร ปริมาณวัตถุดิบหลังตัดแต่ง / ปริมาณวัตถุดิบก่อนตัดแต่ง x 100 เพื่อน ๆ ก็จะได้ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ได้จริง จากนั้นให้เพื่อน ๆ เอาราคาที่ซื้อวัตถุดิบนั้นมา / ปริมาณวัตถุดิบหลังตัดแต่ง เพื่อน ๆ ก็จะได้ต้นทุนจริงของวัตถุดิบรายการนั้น ยกตัวอย่าง เพื่อน ๆ ซื้อผักบุ้งมาก 1 กิโลกรัมราคา 20 บาท ตัดแต่งเอารากออกเหลือน้ำหนักใช้ได้จริง 0.9 กิโลกรม ใช้สูตรหา Yield (0.9/1) x 100 = 90% เพื่อน ๆ ก็ เอากิโลกรัมที่ซื้อมา คือ 20/900 ก็จะได้ต้นทุนที่ใช้จริง 0.02 บาท/กรับ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเพื่อน ๆ ไม่คิด Yield ยกตัวอย่าง ซื้อปลาแซลมอน 1 ตัว น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 300 บาท ตัดแต่ง เอาหัว ก้าง หางออก เหลือน้ำหนักจริง 3 กิโลกรัม Yield คือ (3/5) x 100 = 60% เท่ากับว่า ปลาแซลมอน 1 กิโลกรัมตัดแต่งแล้วใช้ได้จริงเพียง (1,000 x 60) / 100 = 600 กรัม ราคาต่อกรัมคือ 300/600 = 0.5 บาท/กรัม ถ้าเมนูซาซิมิร้านเพื่อน ๆ เสิร์ฟแซลมอน 4 ชิ้นต่อจานน้ำหนักรวม 80 กรัม ต้นทุนปลาแซลมอนจะอยู่ที่ 0.5 บาท/กรัม x ปริมาณที่ใช้ 80 กรัม = ต้นทุน 40 บาท ต่อเสิร์ฟ แต่ถ้าเพื่อน ๆ ไม่คิด Yield สิ่งที่จะเกิดคือ ซื้อปลาแซลมอน 1 ตัว น้ำหนัก 5 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 300 บาท เท่ากับว่า ปลาแซลมอนตัวนี้จะมีราคาต่อกรัมอยู่ที่ 300/1,000 = 0.3บาท/กรัม เมนูซาซิมิ เสิร์ฟแซลมอน 4 ชิ้นต่อจานน้ำหนักรวม 80 กรัม ต้นทุนปลาแซลมอนจะอยู่ที่ 0.3 บาท/กรัม x ปริมาณที่ใช้ 80 กรัม = ต้นทุน 24 บาท ต่อเสิร์ฟ *ต้นทุนเมนูซาซิมิจานนี้ ผิดพลาดไปเกือบ 50%* เมื่อต้นทุนผิดพลาดก็จะส่งผลต่อการตั้งราคาผิดไปด้วย จุดนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารของเพื่อน ๆ มีต้นทุนสูง ขายไม่เหลือกำไร เพื่อน ๆ อาจมองว่า มันดูยุ่งยาก ตัวเลขต้นทุนมันก็ไม่ได้ต่างกันมากแต่ในความเป็นจริง การทำเมนูอาหารหนึ่งจานถ้าเพื่อน ๆ ไม่ให้ความสำคัญกับ Yield ต้นทุนอาหารของเพื่อน ๆ จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีโอกาสเกิด Yield ซ้ำซ้อน เช่น พนักงานใช้วัตถุดิบต่อจานปริมาณมากไป ดังนั้น Yield จึงเป็นสาเหตุเริ่มต้นของการตั้งราคาผิด! TagsFood Costการคิดต้นทุนร้านอาหารต้นทุนอาหารตั้งราคาอาหาร แบ่งปัน FacebookTwitterPinterestWhatsApp บทความก่อนหน้านี้“โออิชิ ราเมน” เปิดโปรฯ อร่อยสุดคุ้ม !!! เมนูสุดฮิต 1 แถม 1 ถึง 31 ก.ค.64 เท่านั้นบทความถัดไปติดตามการเดินทางของสินค้า ก่อนตัดสินใจซื้อผ่าน QR Code เพื่อนแท้ร้านอาหาร บทความแนะนำ HOT UPDATE MLA เปิดตัว ‘ปิยะ ดั่นคุ้ม’ เป็นสมาชิกในโครงการ Aussie Beef Mates 2024 สำหรับประเทศไทย HOT UPDATE โก โฮลเซลล์ จัดคอร์สเสริมความรู้ด้านอาหารญี่ปุ่นแก่ผู้ประกอบการ โชว์ความหลากหลายวัตถุดิบ จุดประกายไอเดียต่อยอด รับร้านอาหารญี่ปุ่นเติบโต HOT UPDATE โก โฮลเซลล์ เปิดโลก แซลมอน-เทราต์ ชูความหลากหลาย ปลา(สี)ส้ม เมนูฮิตสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อผู้ประกอบการร้านอาหาร Social Media เพื่อนแท้ร้านอาหาร260,000แฟนคลับชอบ1,070สมาชิกบอกรับเป็นสมาชิก บทความล่าสุด HOT UPDATE MLA เปิดตัว ‘ปิยะ ดั่นคุ้ม’ เป็นสมาชิกในโครงการ Aussie Beef Mates 2024 สำหรับประเทศไทย HOT UPDATE โก โฮลเซลล์ จัดคอร์สเสริมความรู้ด้านอาหารญี่ปุ่นแก่ผู้ประกอบการ โชว์ความหลากหลายวัตถุดิบ จุดประกายไอเดียต่อยอด รับร้านอาหารญี่ปุ่นเติบโต HOT UPDATE โก โฮลเซลล์ เปิดโลก แซลมอน-เทราต์ ชูความหลากหลาย ปลา(สี)ส้ม เมนูฮิตสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อผู้ประกอบการร้านอาหาร HOT UPDATE โก โฮลเซลล์ เดินหน้าลุย สนับสนุนเกษตรกรท้องถิ่นภาคใต้ บุกค้นหาวัตถุดิบคุณภาพถึงแหล่ง เพิ่มโอกาสสร้างรายได้ กระจายผลผลิตชุมชน HOT UPDATE “โก โฮลเซลล์” ย้ำความมุ่งมั่น พัฒนาโซลูชั่นเพื่อธุรกิจอาหาร ร่วมมือพันธมิตรคิดค้นนวัตกรรมใหม่ เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการ โหลดเพิ่มเติม